105 อาจารย์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังทั่วประเทศ อาทิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเหล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยบูรพา มรภ.พระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นต้น ออกแถลงการณ์เข้าร่วมชื่อเพื่อสนับสนุนการจัดเวทีชุมนุมของกลุ่ม ธธรมศาสตร์จะไม่ทน รวมถึงการปราศรัยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 ณ ลานพญานาค มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต หลังจากที่มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมของการใช้เวทีชุมนุมของนักศึกษาในการกล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ ในเรื่องบทบาท และปัญหาของสถาบันกษัตริย์และสังคมไทย โดยเสนอให้แก้ไขกฏหมายและรัฐธรรมนูญเพื่อให้เกิดความเป็นประชาธิปไตยและให้รักษาสถานภาพของพระมหากษัตริย์ในระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
โดยแถลงการณ์ของเหล่าอาจารย์ได้กล่าวว่า การปราศรัยดังกล่าวเป็นการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นอย่างสุจริตและเป็นไปตามขอบเขตของกฏหมาย ดังบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2563 มาตรา 34 ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฏหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของประชาชน” ซึ่งสอดคล้องกับหลักกฏหมายสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทยได้พันธกรณีอย่างกติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights)
เหล่าอาจารย์ที่ร่วมลงนามแถลงเห็นพ้องกันว่าการกระทำครั้งนี้เป็นการแสดงออกตามครรลองของกฏหมาย บนหลักการพื้นฐานของระบบประชาธิปไตย