4 ประเภทหลังคาโปร่งแสงเลือกแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน

1350

หลังคาโปร่งแสงแต่ละประเภทมีความโปร่งใสที่แตกต่างกันออกไป อีกทั้งยังมีจุดเด่นในเรื่องของคุณสมบัติที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการติดตั้งงานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหลังคาจอดรถ, หลังคาห้องครัว และหลังคาสำหรับระเบียง เพราะฉะนั้นการเลือกซื้อหลังคาโปร่งแสงต้องเข้าใจก่อนว่าแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำ 4 ประเภทของหลังคาชนิดนี้กันว่ามีอะไรบ้าง

หลังคาโปร่งแสง

แผ่นหลังคาอะคริลิก 

แผ่นหลังคาอะคริลิกเป็นประเภทหลังคาโปร่งแสงที่ได้รับความนิยมอย่างล้นหลาม ด้วยตัวพื้นผิวของวัสดุดังกล่าวใกล้เคียงกับกระจกในเรื่องของความใส มีน้ำหนักที่เบากว่ากระจก ดัดโค้งเข้ากับตัวโครงสร้างได้ง่าย เนื้อวัสดุมีความแข็งแรงทนทาน ไม่กรอบแตกเป็นลายงา หรือเป็นฝ้า แถมยังมีให้เลือกทั้งแบบธรรมดาและที่สามารถป้องกันแสงยูวี (UV) พร้อมกับคุณสมบัติที่ลดความร้องจากแสงพระอาทิตย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

แผ่นหลังคาไฟเบอร์กลาส

แผ่นหลังคาไฟเบอร์กลาสเป็นอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมไม่น้อยไปกว่าอะคริลิก ซึ่งเป็นหลังคาความโปร่งแสงแต่ไม่โปร่งใส มีน้ำหนักที่เบา มีความยืดหยุ่นสูง สามารถดัดโค้งเข้ากับโครงสร้างต่างๆ ได้ดี ใช้งานได้หลากหลาย ราคาไม่แพง นอกจากนี้ยังสามารถป้องกันความร้อนได้ดี สะท้อนรังสียูวี (UV) ได้มากถึง 99% กระจายแสงได้อย่างทั่วถึงเป็นธรรมชาติ ใช้งานได้นาน ไม่รั่วซึม ตอบโจทย์ทุกงานติดตั้งหลังคา

แผ่นหลังคาโพลีคาร์บอเนต

แผ่นหลังคาโพลีคาร์บอเนตมีให้เลือกอยู่หลักๆ 3 แบบ ไม่ว่าจะเป็นในแบบลอนลูกฟูก, ตันเรียบ และแบบลอนเรียบ อีกทั้งยังมีให้เลือกหลากหลายสีสันสวยงาม น้ำหนักเบา มีความยืดหยุ่น ดัดโค้งได้ ด้วยแบบลอนลูกฟูกที่มีช่องว่างและแบบลอนเรียบที่แต่ละแผ่นซ้อนทับกัน จึงเป็นจุดที่น้ำหรือความชื้นสามารถเข้าไปสะสมจนเกิดเป็นคราบตะไคร่ และสิ่งสกปรกได้ในระยะยาว

แผ่นหลังคากระจก

แผ่นหลังคากระจกวัสดุดั้งเดิมที่ใช้ทำหลังคาโปร่งแสง ซึ่งประเภทของหลังคากระจกไม่ได้มีแค่ใสอย่างเดียว ยังมีทั้งแบบกระจกสี กระจกขุ่นพ่นทราย เป็นต้น ถึงแม้หลังคาประเภทกระจกจะมีความแข็งแรงและความหนา แต่ข้อด้อยของกระจกก็คือในเรื่องของความเปราะและแตกง่าย จึงทำให้กระจกรุ่นใหม่ๆ ในปัจจุบันเพิ่มเทคโนโลยีการเคลือบฟิล์มนิรภัยเข้าไปเพิ่มความแข็งแรงมากยิ่งขึ้น แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่สูงเอาการเลยทีเดียว

หากใครที่มีแผนกำลังติดตั้งหลังคาแต่ยังไม่รู้ว่าจะเลือกประเภทไหนดีละก็ หวังว่าข้อมูลข้างต้นจะเป็นประโยชน์ให้คุณได้ตัดสินใจเลือกติดตั้งได้ง่ายขึ้น ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างลงตัว ที่สำคัญคุ้มค่ากับการลงทุนระยะยาว

Previous article4 วิธีลดความเสี่ยงของอาการปวดข้อปวดเข่าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
Next articleเปลี่ยนบ้านร้อนให้เย็นด้วยแพ็คเกจ Active Airflow System ราคาคุณภาพจาก SCG HOME