มาทำความรู้จักหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ (e-passport)

3

สำหรับคนที่ชอบเดินทางต่างประเทศ จำเป็นต้องมีหนังสือเดินทางหรือที่เรียกว่า “พาสปอร์ต” ซึ่งปัจจุบันทางกรมการกงสุลได้มีการส่งเสริมให้คนหันมาสใช้หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์กันมากขึ้น หลายคนยังสงสัยว่าคืออะไรแล้วต่างจากแบบเดิมอย่างไร วันนี้มีทำความรู้จักเจ้าหนังสือเดินทางแบบนี้กันคะ

หนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ 

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือเดินทางแบบใหม่ซึ่งกรมการกงสุลกระทรวงต่างประเทศได้นำมาใช้ตั้งแต่วันที่หนึ่งสิงหา 25548 เป็นหนังสือเดินทางที่สมคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิคตามข้อตกลงขององค์การการบินเรือระหว่างประเทศซึ่งแตกต่างจากหนังสือเดินทางแบบเดิม 

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-passport) คืออะไร? 

คือ หนังสือเดินทางที่มีคุณลักษณะเฉพาะทางเทคนิค (Technical Specifications) ตามข้อกำหนดขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) ซึ่งแตกต่างจาก หนังสือเดินทางแบบเดิม มีการบันทึกข้อมูลชีวภาพ (biometric data) ได้แก่ ลายนิ้วมือ รูปใบหน้า ไว้ใน Contactless Integrated Circuit ซึ่งฝังอยู่ในเล่มหนังสือเดินทาง สามารถอ่านได้ด้วยเครื่อง Automatic Gate ณ จุดผ่านแดนระหว่างประเทศ โดยมีการตรวจพิสูจน์โดยอัตโนมัติเพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในหนังสือเดินทางกับ ผู้ถือหนังสือเดินทาง มีการเข้ารหัสข้อมูลเพื่อตรวจสอบความถูกต้องอย่างแท้จริงของหนังสือเดินทาง 

หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ดีกว่าหนังสือเดินทางแบบเดิมอย่างไร 

1.สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้สูง เป็นมาตรการสำคัญในการสกัดกั้นขบวนการก่อการร้ายข้ามชาติ การลักลอบเข้าเมือง ฯลฯ 

2.สามารถตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ตัวบุคคลได้แม่นยำและรวดเร็ว อำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง การเข้าเมือง และส่งเสริมการท่องเที่ยว 

3.เสริมสร้างภาพลักษณ์ของประเทศ ทำให้หนังสือเดินทางไทยมีความน่าเชื่อถือ และได้รับการยอมรับในระดับสากลยิ่งขึ้น ส่งผลต่อเนื่องทางบวกด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของประเทศ 

ข้อควรรู้ก่อนทำหนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์ 

1.ต้องมาทำด้วยตนเอง เนื่องจากผู้ร้องต้องผ่านกระบวนการบันทึกข้อมูลชีวภาพ ได้แก่ การพิมพ์ลายนิ้วมือและการถ่ายภาพใบหน้า 

2. หนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์จะไม่มีการต่ออายุแต่จะออกหนังสือเดินทางเล่มใหม่แทนเล่มเดิม

3. อิเล็กทรอนิกส์มีประสิทธิภาพการใช้งานสูงสุดถึงกำหนดให้หนังสือเดินทางชนิดนี้มีอายุใช้งานห้าปีและเพิ่มหน้าจะเดิน 32 หน้าเป็น 50 หน้า

4.ไม่อนุญาตให้ลงบันทึกแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงข้อความใดๆ เช่น เปลี่ยนชื่อ นามสกุล ลงในเล่มหนังสือเดินทางเพื่อป้องกันปัญหาการขาดความน่าเชื่อถือของข้อมูลตัวบุคคลที่บันทึกไว้ ซึ่งอาจจะขัดแย้งกับข้อมูลที่บันทึกไว้แล้วในไมโครชิพ ดังนั้นหากแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลทะเบียนราษฎร์ของกระทรวงมหาดไทยเรียบร้อยแล้วต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ 

5.เงินค่าทำเนียมเกี่ยวกับหนังสือเดินทางซึ่งผู้ยื่นคำร้องได้ชำระให้แก่ทางข้าราชการไปแล้วนั้นไม่ไม่สามารถเรียกคืนได้ไม่ว่ากรณีใด 

หนังสือเดินทางอีเล็กทรอนิกส์เป็นหนังสือเดินที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาเก็บข้อมูล ทำให้มั่นใจว่าการปลอมแปลงจะทำได้ยากและสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ถือได้ดีอีกด้วย

Previous articleรู้จักบริการถ่าย Video Conference คืออะไร ดีอย่างไรบ้าง ?
Next articleอยากขายสติกเกอร์งานอาร์ต ต้องเลือกเครื่องพิมพ์สติกเกอร์ม้วน