หนึ่งในช่องทางการลงทุนที่ดีและน่าสนใจคือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นอีกหนึ่งขั้นตอนวางแผนการเกษียณในระยะยาว และปัจจุบันทางสถาบันทางการเงินก็มีวิธีอำนวยความสะดวกให้กับนักลงทุนทั้งหลายผ่านการซื้อกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออนไลน์ ซึ่งการลงทุนประเภทนี้มักจะมาในรูปแบบของการลงทุนกับบริษัทหรือองค์กรที่ทำงานอยู่ โดยลูกจ้างอาจจะสมทบเงินทุนสำรองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งจากบริษัทสมทบให้ แต่นอกจากนี้เรื่องอื่นๆ ที่ควรทราบเกี่ยวกับการเลือกลงทุนกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแบบออนไลน์นั้นจะมีอะไรที่นักลงทุนมือใหม่ควรทราบบ้าง ตามมาหาคำตอบกันต่อได้เลย
เงื่อนไขของเงินสมทบทุนจากนายจ้าง
ตามที่ได้เกริ่นไปบ้างแล้วในข้างต้น แม้ว่าจะเป็นการเลือกลงทุนกองทุนสํารองเลี้ยงชีพออนไลน์ แต่ถ้าหากเป็นการลงทุนร่วมกันกับบริษัท แนะนำให้นักลงทุนหรือสมาชิกศึกษารายละเอียดเรื่องของการสมทบทุนให้ดี ตั้งแต่เรื่องของอัตราการสมทบเงินเข้า หากสมาชิกสมทบมาก บริษัทก็จะสมทบเป็นเปอร์เซ็นต์ที่มากตามไปด้วย อีกทั้งการนำเอาเงินเข้ากองทุนสํารองเลี้ยงชีพแบบออนไลน์ก็จะต้องมีระยะเวลาในการสมทบทุนเช่นกัน อย่างต่ำคือ 3 ปี 5 ปี อายุงานยิ่งนานก็จะได้รับเงินสมทบมากตามไปด้วยเช่นกัน
แผนการลงทุนที่เหมาะสม
อีกเรื่องสำคัญเกี่ยวกับการเลือกลงทุนกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพ คือการทำความเข้าใจกับแผนการลงทุนต่างๆ และเลือกแผนที่เหมาะสมกับสมาชิกเอง แนะนำว่าเลือกแผนการลงทุนในลักษณะนี้จะเป็นแผนการลงทุนในระยะยาว อาจจะไม่สามารถเลือกแผนการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำได้เพียงอย่างเดียวเพราะเมื่อถึงเวลาแล้วจะไม่สามารถเปลี่ยนได้จนกว่าจะครบกำหนด หากไม่มั่นใจแนะนำให้สอบถามผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนโดยเฉพาะ เพื่อให้สามารถเลือกแผนการลงทุนที่เหมาะสมและมีผลตอบแทนที่คุ้มค่าแก่เงินต้นและระยะเวลาหลักปีที่ได้เสียไป
อัตราการลดหย่อนภาษี
เรื่องสุดท้ายเกี่ยวกับการลงทุนกับกองทุนสํารองเลี้ยงชีพนั่นก็คืออัตราการลดหย่อนภาษี แนะนำให้สมาชิกตรวจสอบอัตราการลดหย่อนภาษีสูงสุดให้ดี ทั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบบ SSF และ RMF สำหรับเงื่อนไข ณ ตอนนี้คือสามารถลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท แต่ต้องเป็นการลดหย่อนภาษีที่รวมกับประกันชีวิตแบบบำนาญแล้วเรียบร้อย
ในทุกๆ การลงทุนย่อมมีความเสี่ยง รวมไปถึงกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเช่นกัน จะเลือกซื้อกองทุนสำรองเลี้ยงชีพผ่านช่องทางไหน จะเป็นช่องทางออฟไลน์ หรือกองทุนสํารองเลี้ยงชีพแบบออนไลน์แนะนำให้ศึกษาหาข้อมูลให้แน่ใจเสียก่อน เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น หากไม่มั่นใจสามารถสอบถามข้อมูลจากสถาบันทางการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญได้เลยทันที ไม่ว่าจะโทรเข้าไปสอบถามหรือพูดคุยโดยตรงหรือค้นหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต