แนวทางการชำระหนี้ กยศ กู้เรียนก่อนผ่อนที่หลัง

2013

กยศ. หรือ กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2538 มีฐานะเป็นนิติบุคคล โดยอยู่ในการดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนในเรื่องค่าเล่าเรียนรวมถึงค่าครองชีพให้กับนักเรียน นักศึกษา ตั้งแต่มัธยมปลายทั้งสายสามัญและสายอาชีพจนถึงระดับปริญญาตรี โดยไม่คิดดอกเบี้ย(ในช่วงที่ปลอดหนี้) และต้อง ชำระหนี้ กยศ คืนหลัง 2 ปีนับจากปีที่เรียนจบแล้ว

ชำระหนี้ กยศ

สำหรับนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้น ม.ปลาย หากขาดแคลนทุนทรัพย์ในการศึกษา ก็สามารถกู้ยืมจากกองทุน กยศ ได้ แต่ก็ควรศึกษารายละเอียดการชำระหนี้ กยศ ให้เข้าใจเสียก่อน โดยในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่จนกระทั่งจบการศึกษามาแล้ว 2 ปี จะยังไม่ต้องชำระหนี้และดอกเบี้ย แต่เมื่อเกินกำหนด 2 ปีก็ต้องชำระหนี้ กยศ พร้อมดอกเบี้ยด้วย

หลักเกณฑ์การชำระหนี้ กยศ

การชำระหนี้ กยศ จะเป็นไปตาม พ.ร.บ. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ปี พ.ศ. 2541 และระเบียบคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ว่าด้วยการชำระหนี้ กยศ ปี พ.ศ. 2542 ดังนี้

– ผู้กู้ยืมเงิน จะต้องชำระหนี้ กยศ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว หรือเลิกการศึกษาแล้วเป็นเวลา 2 ปี นับจากปีที่สำเร็จการศึกษา ซึ่งในช่วง 2 ปีนี้ จะเป็นระยะเวลาปลอดหนี้

– ในกรณีที่ผู้ยืมเงิน ไม่ได้กู้เงินต่อเนื่องเกิน 2 ปี และไม่ได้แจ้งให้ทาง กยศ ทราบ ก็ถือว่าครบกำหนดเวลาปลอดหนี้เช่นกัน หลังจากครบเงื่อนไขดังกล่าว ก็ต้องชำระหนี้คืน กยศ พร้อมดอกเบี้ยตามที่กำหนด

กยศ

การคิดดอกเบี้ยในการชำระหนี้ กยศ

– ผู้กู้ยืมเงิน จะต้องชำระหนี้ กยศ พร้อมดอกเบี้ย (หรือผลประโยชน์อื่น) ในอัตราร้อยละ 1 ต่อปี และต้องชำระคืนทั้งหมดภายใน 15 ปี นับจากวันที่เริ่มชำระหนี้

– การชำระหนี้งวดแรก จะชำระเฉพาะเงินต้น (ยังไม่คิดดอกเบี้ย) ในอัตราร้อยละ 1.5 ของจำนวนเงินที่กู้ ภายในวันที่ 5 กรกฏาคม หลังครบกำหนดเวลาปลอดหนี้

– การชำระหนี้งวดต่อไป ก็ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย 1% ต่อปี ภายในวันที่ 5 กรกฏาคม ของทุกปี โดยผ่อนชำระตามอัตราที่กองทุนกำหนด ซึ่งสามารถผ่อนชำระเป็นรายปีหรือรายเดือนก็ได้ แต่ต้องชำระเงินต้นไม่ต่ำกว่าอัตรา ดังนี้

กยศ

– ผู้กู้ยืมจะต้องไปแจ้งวิธีผ่อนชำระหนี้ว่าจะผ่อนเป็นรายปี หรือรายเดือน ที่ กยศ ทุกสาขา และต้องแจ้งก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี หรือหากผู้กู้ยืมจะขอชำระหนี้คืนทั้งหมด ก่อนครบระยะเวลาปลอดหนี้ 2 ปี ก็สามารถทำได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ใดๆ

– ในกรณีที่ผู้กู้ยืม ผิดนัดชำระหนี้จะต้องเสียค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมการผิดนัดชำระหนี้ กยศ ตามอัตราที่กองทุนกำหนด สำหรับค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมกรณีผิดนัดชำระหนี้ จะมีดังนี้

1.ในกรณีที่ผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน หากค้างชำระตั้งแต่ 1 – 12 เดือน จะเสียค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมการผิดนัดในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ แต่ถ้าค้างชำระเกิน 12 เดือน จะเสียร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด

2.ในกรณีที่ผ่อนชำระหนี้เป็นรายปี ถ้าค้างชำระไม่เกิน 1 ปี จะเสียค่าปรับ หรือค่าธรรมเนียมการผิดนัดในอัตราร้อยละ 1 ต่อเดือนของเงินต้นงวดที่ค้างชำระ หากค้างชำระเกิน 1 ปีขึ้นไป จะเสียร้อยละ 1.5 ต่อเดือน ของเงินต้นงวดที่ค้างชำระทั้งหมด

การระงับชำระหนี้ กยศ

การที่จะหยุดชำระหนี้ กยศ มีอยู่ด้วยกัน 3 กรณี คือ

1.ผู้กู้ยืม ชำระหนี้คืนทั้งหมดครบตามสัญญา

2.ผู้กู้ยืม พิการ หรือทุพพลภาพไม่สามารถทำงานได้ โดยต้องแสดงหลักฐานสมุดประจำตัวคนพิการที่ออกโดยกรมประชาสงเคราะห์ให้กับ กยศ รับทราบ

3.ผู้กู้ยืม ถึงแก่ความตาย โดยต้องส่งสำเนาใบมรณะบัตร สำเนาทะเบียนบ้านของผู้กู้ยืม และสำเนาบัตรประชาชนของผู้ที่แจ้ง ให้กับ กยศ รับทราบ

ผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ กยศ

สำหรับ ภาระความรับผิดชอบของผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของ กยศ ในกรณีที่ผู้กู้ยืมผิดสัญญาไม่ยอมชำระคืน ผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบชำระหนี้คืนในฐานะลูกหนี้ร่วมกับผู้กู้ยืม

ข้อมูลการชำระหนี้ กยศ
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) : studentloan.or.th

Previous articleเกษตรอินทรีย์ ระบบการเกษตรแบบบูรณาการ
Next articleทุน กพ / ทุนการศึกษาของรัฐบาล เรียนฟรีมีงานทำ!!!