10 ประเทศอาเซียน ที่เราควรรู้จัก มีอะไรบ้าง

10100

เพื่อเป็นการเตรียมตัวเข้าสู่ประชาคม ประเทศอาเซียน เรามาทำความรู้จักกันก่อนคะว่าประเทศอาเซียนของเรานั้นมีประเทศใดบ้าง แล้วการร่วมตัวของประเทศอาเซียนเกิดขึ้นได้อย่างไร เพื่อเหตุผลใด
ประเทศอาเซียน

อาเซียน (ASEAN) หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ( Association of Southeast Asian Nations )เป็นการร่วมตัวกันของประเทศในแถบทวีปเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น

ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ ได้แก่

1.ราชอาณาจักรไทย: ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

2.สาธารณรัฐสิงคโปร์: ประชากรส่วนมากเป็นชาวจีน มีภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบสาธารณรัฐ

3.สหพันธรัฐมาเลเซีย: ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม โดยมีภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ ปกครองประเทศด้วยระบอบประชาธิปไตยระบบรัฐสภา

4.สาธารณรัฐอินโดนีเซีย: ภาษาอินโดนีเซียเป็นภาษาราชการ ประชากรเป็นชนพื้นเมืองหลายกลุ่ม มีภาษามากกว่า 583 ภาษา ปกครองระบอบประชาธิปไตย มีประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

5.สาธารณรัฐฟิลิปปินส์: ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิก ใช้ภาษาฟิลิปิโนและภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิปดีเป็นประมุขและหัวหน้าฝ่ายบริหาร

6.เนการาบรูไน ดารุสซาลาม: ประชากรส่วนมากเป็นเชื้อสายมาเลย์ มีภาษามาเลย์เป็นภาษาราชการ และปกครองด้วยระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

7.สาธาณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว: ประชากรร้อยละ 68 เป็นลาวลุ่ม ใช้ภาษาลาวเป็นภาษาราชการ ปกครองดวยระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์

8.สาธาณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ หรือ พม่า: ประชากรส่วนมากเป็นกลุ่มเผ่าพันธุ์ ใช้ภาษาพม่าเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบบเผด็จการทางทหาร ภายใต้สภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งรัฐ

9.สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม: ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน มีภาษาเวียดนามเป็นภาษาราชการ ปกครองด้วยระบบสังคมนิยม โดยพรรคมิวนิสต์

10.ราชอาณาจักรกัมพูชา: เข้าร่วมเป็นประเทศสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ.2542 ประชากรร้อยละ 94 เป็นชาวเขมร ใช้ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตรย์เป็นประมุข

หากย้อนกลับไปเมื่อแรกเริ่มของการร่วมตัวกันของประเทศอาเซียน เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 ช่วงยุครัฐบาลของจอมพลถนอม กิตติขจร  โดยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศไทย คือ น.อ. (พิเศษ) ดร.ถนัด คอมันตร์  เป็นการร่วมประชุมกันระหว่างผู้นำประเทศ 4 ประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และไทย  เพื่อกำหนดแนวทางการจัดตั้งสมาคมอาเซียนขึ้น

ได้มีการจัดทำเอกสารข้อตกลงร่วมกันเรียกว่า “ปฎิญญากรุงเทพ” (Bangkok Declaration) หรือปฎิญญาอาเซียน (ASEAN Declaration) ณ วันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ.1967) ที่ วังสราญรมย์ กรุงเทพมหานคร  เหตุผลหลักในการจัดตั้งสมาคมอาเซียน เพื่อสร้างความสมัคคีกันระหว่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้นแต่ละประเทศก็ประสบปัญหามาก เช่น มาเลเซียและฟิลิปปินส์ก็มีปัญหาเรื่องเกาะและกรรมสิทธิ์พื้นที่ทับซ้อน สิงคโปร์ก็หวั่นเกรงการล่าอาณานิคมของประเทศมหาอำนาจ และประเทศไทยเกิดภาวะการแทรกซึมของลัทธิคอมมิวนิสต์จากประเทศเวียดนาม ลาว และกัมพูชา (เขมร)

ประเทศอาเซียน ได้ร่วมตัวกันและร่วมมือกันมุ่งหวังที่จะให้เกิดการพัฒนาในทุกๆด้านแบบองค์ร่วม จนเมื่อ ปี พ.ศ.2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามปฎิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เพื่อให้อาเซียนรวมตัวเป็นประชาคมเดียวกัน  ภายใต้คำขวัญ “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งปชาคม “ (One Vision, One Identity, One Community) ประชาคมอาเซีนกำหนดแผนจะจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ.2015) โดยมีความมุ่งมั่นใน 3 เรื่องหลัก ได้แก่

1.เศรษฐกิจ (ASEAN Economic Community / AEC) เป็นการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ เพื่อความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศในกลุ่ม มุ่งให้เกิดการค้าเสรี ส่งเสริมความร่วมมือกันในเรื่องนโยบายการเงินและเศรษฐกิจ และมุ่งหวังที่จะสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆได้

2.การเมืองและความมั่นคง (ASEAN Security Community/ASC) เพื่อให้ประเทศในกลุ่มอยู่ด้วยกันอย่างสันติ แก้ไขความขัดแย้ง มีความร่วมมือกันเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคง

3.สังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community/ASCC) เพื่อให้ประชาชนในประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีความมั่นคงทางสังคม

ข้อมูลอ้างอิง

LVC ASEAN CENTER: lampangvc.ac.th
ประชาคมอาเซียน: lib.ru.ac.th
ประเทศอาเซียน 10 ประเทศ มีอะไรบ้าง: millionaire-academy.com

Previous article10 ประเทศอาเซียนกับ ดอกไม้ประจำชาติอาเซียน ที่เราควรรู้
Next articleขันธ์ ๕ หมายถึงอะไร มีอะไรบ้าง