ประวัติ พระเจนดุริยางค์ ผู้วางรากฐานดุริยางคศิลป์ของไทย

4984

พระเจนดุริยางค์ หรือ ปิติ วาทยะกร เป็นบุคคลสำคัญสำหรับวงการดนตรีของประเทศไทย  ท่านทรงเป็นบุคคลสำคัญในการบันทึกเพลงไทยเดิมด้วยโน้ตเพลงสากล และเป็นผู้วางรางฐานวงดุริยางค์ทหารอากาศและวงดุริยางค์ตำรวจ

พระเจนดุริยางค์

ภาพจาก สารคดีโทรทัศน์รายการสยามศิลปิน ปีที่ ๑ (youtube.com)

ท่านมีชื่อเดิมว่า ปีเตอร์ ไฟท์ เกิดเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2426 เป็นบุตรของนายยาคอบ ไฟท์ (Jakob Feit) ชาวเยอรมัน กับมารดานางทองอยู่ ชาวไทยเชื้อสายมอญ บิดาของท่านเป็นผู้มีความรู้ในด้านดนตรีได้เดินทางเข้ามาประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยวและได้รับราชการเป็นครูแตรวงในพระราชสำนักของสมเด็จพระบัณฑูรย์กรมพระราชวังบรมมหาวิชัยชาญ ต่อมาได้เป็นครูแตรวงของทหารบกในรัชกาลที่ 5

ประวัติ พระเจนดุริยางค์

พระเจนดุริยางค์ได้เข้าเรียนหนังสือที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก จนจบหลักสูตรภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษและเริ่มเรียนดนตรีกับบิดาขณะที่มีอายุเพียง 10 ขวบ ต่อจากนั้นได้ศึกษาดนตรีด้วยตนเองมาโดยตลอดจนมีความรู้และความชำนาญอย่างแตกฉาน  ท่านได้เดินทางไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยดนตรีเฟรเดริก ชอแป็ง ที่ประเทศโปแลนด์ ด้านประวัติครอบครัวของท่านนั้น ได้สมรสกับภรรยาถึง 3 คน คือนางเบอร์ธา นางบัวคำและนางลิ้ม มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 10 คน

ท่านได้เข้าเป็นครูโรงเรียนอัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2444  ต่อมาด้รับเข้าราชการในกรมรถไฟหลวง และถูกโอนมาเป็นครูในกรมมหรสพ(ซึ่งภายหลังได้โอนมาอยู่กับกรมศิลปากร) ในตำแหน่งครูวงเครื่องสายฝรั่งหลวง และทำหน้าที่สอนวิชาดนตรสากลให้สามัคยาจรยสมาคมและเป็นผู้ผลักดันให้วิชาการขับร้องด้วยโน้ต เป็นวิชาเลือกในการสอบเลื่อนวิทยาฐานะทั้งชุดของครูประถมและครูมัธยม  ต่อมาในปี พ.ศ. 2483 ได้โอนสังกัดไปสอนให้วงดุริยาค์ทหารอากาศจนเกษียรอายุราชการ ถึงแม้ท่านจะเกษียรอายุแล้วท่านก็ยังได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์ให้กับมหาวิทยาลัยศิลปากร และทำงานด้านดนตรีมาตลอด เช่น ช่วยก่อตั้งวงดุริยางค์สากลกรมตำรวจ จนถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2511 อายุ 85 ปี 5 เดือนคะ

ผู้วางรากฐานดุริยางคศิลป์ของไทย

สารคดีโทรทัศน์รายการสยามศิลปิน ปีที่ ๑ ตอน พระเจนดุริยางค์ผู้วางรากฐานดุริยางคศิลป์ของไทย จัดทำโดยมูลนิธิศิลปินแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ

พระเจนดุริยางค์ ผลงานด้านดนตรี

พระเจนดุริยางค์ เป็นผู้ประพันธ์ทำนองเพลงชาติไทย  และเป็นผู้ริ่เริ่มสร้างเพลงไทยประสานเสียง สำหรับการบรรเลงไทยด้วยเครื่องดุริยางค์สากล โดยเคาะระนาดเทียบเสียงโน้ตสากลทุกตัวเพื่อให้เสียงตรงต้นฉบับเพลงไทยเดิมทุกอย่าง เพื่อไม่ให้เกิดการผิดเพี้ยน

นอกจากนี้ท่านยังประพันธ์เพลงต่างๆและแยกเสียงประสานเพื่อใช้เล่นกับวงดุริยางค์สากล อันมีบทเพลง อาทิ เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องบ้านไร่นาเรา เรื่องพระเจ้าช้างเผือก  (บทและอำนวยการสร้างโดยนายปรีดี พนมยงค์) และบทเพลงในมหาอุปราการเรื่อง มหาดารณี  ส่วนเพลงไทยเดิมที่ท่านได้แยกประสานเสียงสำหรับใช้บรรเลงด้วยวงดุริยางค์สากล เช่น เพลงเขมรไทยโยค แขกเชิญเจ้า ต้นบรเทศ สุธากันแสง มหาฤกษ์ แขกเชิญเจ้า เป็นต้น

ท่านยังแต่งตำราวิชาการดนตรีสากลไว้หลายเล่ม เช่น การดนตรี หลังวิชาการดนตรีและการขับร้อง แบบเรียนวิชาการประสานเสียง แบบเรียนดุริยางค์สากล พระเจนดุริยางค์ได้อบรมศิษย์เป็นจำนวนมากและศิษย์ของท่านก็กลายมาเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงหรือหัวหน้าวงที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและสร้างคุณประโยชน์ต่อวงการดนตรีของประเทศไทยในเวลาสืบต่อมา  เช่น เอื้อ สุนทรสนาน, สง่า อารัมภีร์, ชลหมู่ ชลานุเคราะห์ ,เรืออากาศโทร ประกิจ วาทะยากร เป็นต้น

พระเจนดุริยางค์ เป็นบุคคลสำคัญต่อวงการดนตรีสากลของประเทศไทย เป็นผู้มีคุณาปการอย่างล้นเหลือ ชื่อเสียงและผลงานของเท่ามีมากมายเป็นที่รู้จักของคนไทย หนึ่งในบุคคลที่ทำคุณประโยชน์ต่อประเทศ ถึงแม้จะล่วงเลยผ่านมาหลายสิบปี แต่คุณงามความดี และสิ่งที่ท่านได้ทำจะยังคงถูกจารึกตลอดไปชั่วลูกชั่วหลาน

ข้อมูลอ้างอิง
พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร): gotoknow.org
ปิติ วาทยะกร: th.wikipedia.org

Previous articleวิธีทําให้หน้าใส ขาวอมชมพู ด้วยสูตรน้ำผึ้งธรรมชาติ
Next articleธงชาติไทย ความหมายและประวัติความเป็นมา