ขันธ์ ๕ หมายถึงอะไร มีอะไรบ้าง

52360

ขันธ์ หมายถึง กอง หมู่ ส่วน แต่ขันธ์ในทางศาสนาหมายถึง ร่างกายของมนุษย์ สามารถแยกออกเป็นส่วนๆตามสภาพได้ 5 ส่วน ที่เรียกว่า “ขันธ์ ๕”

ขันธ์ ๕

ขอบคุณรูปภาพจาก ขันธ์ 5 (เบญจขันธ์)

ขันธ์ ๕ ได้แก่

1. รูป (Corporeality) คือส่วนผสมกันของธาตุต่างๆ ทั้งดิน น้ำ ลม ไฟ เช่น ผม กระดูก เลือด

2. เวทนา (Feeling/Sensation) คือ ระบบประมวลความรู้สึกว่า ชอบ ไม่ชอบ หรือเฉยๆ สามารถแบ่งออกได้ 3 อย่าง คือ 1.สุขเวทนา เป็นความรู้สึกสุข สบายกาย สบายใจม, 2.ทุกขเวทนา เป็นความรู้สึกทุกข์ ไม่สบากกาย ไม่สบายใจ และ 3.อทุกขมสุขเวทนา เป็นความรู้สึกเฉยๆ ไม่ทุกข์และไม่สุข

3. สัญญา (Perception) คือ การจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียง รส กลิ่น สัมผัส คน สัตว์ เหตุการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นเพราะการทำงานของใจที่บันทึกข้อมูลต่างๆไว้ รวมทั้ง

4. สังขาร (Mental Formations/Volitional Activities) คือ ความคิดที่ปรุงแต่ง แยกแยะสิ่งที่ได้รู้สึกและจำได้ สามารถแบ่งได้ 3 ประเภท คือ กุศลสังขาร (ความคิดดี) อกุศลสังขาร (ความคิดชั่ว) และ อัพยากตสังขาร (ความคิดไม่ดีไม่ชั่ว) เมื่อเสียงได้กระทบกับหู หูก็รับไว้ ก่อให้เกิดเวทนา แล้วส่งต่ไปยังส่วนของความจำเรื่องอารมร์ที่เกิดขึ้น จากนั้นจะถูกส่งต่อมาในส่วนที่ทำหน้าที่คิด ปรุงแต่ง (สังขาร)

5. วิญญาณ (Consciousness) คือ ระบบรับรู้สิ่งนั้นจากผัสสะ จากทวารทั้งหมด แบ่งได้ 6 ประเภท ได้แก่

  • จักขุวิญญาณ รู้รูปโดยอาศัยตา
  • โสตวิญญาณ รู้เสียงโดยอาศัยหู
  • ฆานวิญญาณ รู้กลิ่นโดยอาศัยจมูก
  • ชิวหาวิญญาณ รู้รสโดยอาศัยลิ้น
  • กายวิญญาณ รู้สัมผัสโดยอาศัยกาย
  • มโนวิญญาณ รู้อารมณ์ที่เกิดขึ้นทางใจ

เราสามารถอธิบายขันธ์ ๕ ให้เข้าใจง่ายๆ ตัวอย่าง คุณน้อยได้ยินเสียงนกร้อง (เกิดวิญญาณทางหู) รู้สึกสบายใจสบายหู (เกิดเวทนา) หมายรู้ว่าเป็นเสียงที่ไพเราะ หมายรู้ว่าเป็นเสียงนกร้อง หมายรู้ว่าเป็นเสียงนกร้องไพเราะ (เกิดสัญญา) ชอบใจเสียงนั้น อยากฟังเสียงนั้น คิดจะจับนกตัวนั้น คิดจะซื้อนกมาเลี้ยง (เกิดสังขาร)  เราจะสังเกตได้ว่า “เวทนา”มีบทบาทสำคัญมาก อารมณ์ใดที่ให้ความสุข (สุขเวทนา) สัญญามักกำหนดที่อารมณ์นั้นๆ ยิ่งให้สุขมากก็กำหนดหมายมาก เป็นแรงผลักดันให้เกิดการคิดปรุงแต่ง ทำการใดเพื่อให้ได้ความสุขนั้นมากขึ้น นั้นเองคะ

ธรรมชาติของขันธ์ ๕ มีดังนี้

1. มีเกิด มีดับ อยู่ตลอดเวลา เปลี่ยนแปลงไปตามปัจจัยต่างๆตลอดเวลา

2. มีสภาวะเป็นไตรลักษณ์ คือไม่มีความเที่ยงแท้เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจากเหตุและปัจจัยที่เข้ามา เป็นทุกข์เพราะมีความเสื่อมตลอดเวลา ทุกข์ทั้งทางกายและทางใจ สลับกันไปมา และมีความเป็นอนัตตา ไม่ใช่ตัวตนของเราเพราะไม่สามารถบังคับให้ขันธ์ ๕ ไม่เสื่อมหรือยู่ในสภาวะเดิมได้

คนเราเกิดมามีขันธ์ ๕ เหมือนกันทุกคน แต่ขันธ์๕ในแต่ละคนบริสุทธิ์ไม่เท่ากัน ทำให้มีรูปธรรมและนามธรรมหยาบ ละเอียดแตกต่างกันไป ถ้าตัวเราประกอบด้วยธาตุ (รูป)ที่บริสุทธิ์ก็จะมีความสวยงามมากเท่านั้น หากมีวิญญาณที่บริสุทธิ์ก็จะทำให้เรารับรู้สิ่งต่างๆ รับรู้เหตุการณ์ต่างด้วยสติ ไม่ตื่นเต้น หงุดหงิด หรือประหม่ากลัว เมื่อได้ยินเสียง(สัญญา) ก็จะจำได้ดี เกิดความคิด(สังขาร) ที่ดี เป็นธรรม หรือมีแนวโน้มไปในทางที่ดี และธาตุในตัวบริสุทธิ์มากเท่าไหร่ ก็จะมีอารมณ์ที่ผ่องใส เบิกบาน เห็น คิด แต่สิ่งดีๆ  หากเราสามารถเข้าใจในขันธ์ ๕ เราก็จะไม่ยึดมั่นในขันธ์ ๕ เพราะเป็นทุกข์ เราจะสามารถประคองตัวเองได้ไม่ให้กระทำความชั่ว พึงกระทำแต่ความดี ทั้งกาย วาจา ใจ เมื่อธาตุในตัวสะอาดขึ้นทุกวันๆ สุดท้ายธาตุบริสุทธิ์ก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์

ขันธ์ ๕ หลักคำสอนของพระพุทธศาสนานั้นละเอียดลึกซึ้ง หากเราตั้งใจศึกษา หมั่นเรียนรู้ และหมั่นปฎิบัติย่อได้ประโยชน์  ทั้งแต่ตนเอง ผู้อื่น และศาสนาด้วยคะ

ข้อมูลอ้างอิง

บทที่ 5 ขันธ์ ๕: book.dou.us
หลักปฎิบัติในชีวิตประจำวัน: nkgen.com
ฉบับการ์ตูน ขันธ์๕ (แบบเข้าใจง่ายและละเอียด) : dhammaway.wordpress.com

Previous article10 ประเทศอาเซียน ที่เราควรรู้จัก มีอะไรบ้าง
Next articleโทนเนอร์ ใช้แบบไหน..ให้เหมาะกับผิวหน้า