OEM อาหารเสริมคืออะไร สร้างแบรนด์อาหารเสริมต้องรู้!

169

คนทำแบรนด์รู้กัน! การสร้างฐานลูกค้าให้กับแบรนด์อาหารเสริมนั้นเป็นเรื่องยาก เพราะ โดยส่วนใหญ่แล้ว คนมักเข้าใจว่าการขายอาหารเสริมนั้นเป็นการหลอกขายตรงทั้ง ๆ ที่จริง ๆ แล้ว ในบางครั้ง อาหารเสริมที่เราต้องการนำเสนอสู่ตลาดนั้นเป็นสินค้าพรีเมียมที่ผ่านการทดสอบมาอย่างยาวนาน มีผลวิจัยรองรับ และมีคุณภาพสูงมากแท้ ๆ แต่ถึงจะเป็นเช่นนั้น คนทำแบรนด์เองก็อย่าเพิ่งย่อท้อ และขอให้พัฒนาสินค้าของเราให้ดีที่สุดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนให้ได้มากที่สุดต่อไป

OEM อาหารเสริม

ซึ่งนอกจากจะใส่ใจเรื่องการทำธุรกิจและความต้องการของลูกค้าแล้ว การเลือกโรงงานผลิตที่เป็น OEM อาหารเสริมก็จะยิ่งช่วยให้แบรนด์และเจ้าของแบรนด์อาหารเสริมดูน่าเชื่อถือมากขึ้นไปอีก แล้ว OEM อาหารเสริมคืออะไร จำเป็นกับแบรนด์แค่ไหน มาหาคำตอบไปพร้อมกันเลย!

เข้าใจ OEM อาหารเสริมกันก่อน

หลายคนอาจมองว่า หากต้องการสร้างแบรนด์อาหารเสริม ไม่ว่าโรงงานไหนก็สามารถผลิตได้เหมือนกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว โรงงานผลิตอาหารเสริมจะมีไลน์การผลิตสินค้าด้วยกันหลัก ๆ 2 ประเภท คือ

  • การผลิตอาหารเสริมแบบ ODM หรือ (Original Design Manufacturer) ที่ทางโรงงานจะดำเนินการการผลิตให้ทุกอย่างตั้งแต่การคิดค้นสูตรไปจนถึงการวางแผนการตลาดให้กับแบรนด์โดยเฉพาะ ซึ่งการผลิตแบบนี้ เราจะสามารถเลือกได้ทั้งการร่วมคิดค้นสูตรอาหารเสริมและมีส่วนร่วมในการผลิต หรือจะเลือกสูตรที่โรงงานจัดเตรียมไว้เพื่อผลิตเป็นอาหารเสริมก็ทำได้เช่นกัน
  • การผลิตอาหารเสริมแบบ OEM หรือ OEM อาหารเสริมที่หลาย ๆ คนเข้าใจ โดยกระบวนการนี้จะย่อมาจาก Original Equipment Manufacturer ที่ทางโรงงานจะผลิตอาหารเสริมตามสูตรที่เจ้าแบรนด์คิดค้นเท่านั้น ซึ่งรายละเอียดและค่าใช้จ่ายจะแตกต่างกันไปตามความต้องการของแบรนด์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แล้วเจ้าของแบรนด์ควรเลือกผลิตอาหารเสริมแบบไหนดี?

ไม่ว่าจะเป็น OEM อาหารเสริม หรือ การผลิตอาหารเสริมแบบ ODM นอกเหนือจากงบประมาณแล้ว ทางแบรนด์ยังต้องพิจารณา 3 ปัจจัยหลัก คือ

  • ความปลอดภัยของสูตรอาหารเสริม ซึ่งหากเลือกผลิตแบบ OEM อาหารเสริม ทางแบรนด์ต้องมั่นใจว่าสูตรของตัวเองมีการทดสอบว่าปลอดภัยต่อผู้บริโภคจริง
  • การทำบรรจุภัณฑ์ หากต้องการผลิตครบจบได้ในที่เดียว การเลือกผลิตแบบ ODM ก็อาจตอบโจทย์ได้มากกว่า เพราะทางโรงงานจะเป็นคนเลือกบรรจุภัณฑ์ที่ปลอดภัยต่อสูตรที่เจ้าของแบรนด์ร่วมพัฒนากับโรงงานได้
  • การทำการตลาด โดยส่วนใหญ่แล้ว หากเจ้าของแบรนด์มั่นใจว่าทางแบรนด์สามารถทำการตลาดได้ด้วยตัวเอง และมีกลยุทธ์ที่รัดกุมแล้ว การเลือกผลิตแบบ OEM อาหารเสริมก็อาจช่วยลดต้นทุนในส่วนนี้ลงไปได้ แต่หากแบรนด์ไหนต้องการสร้างแบรนด์ตั้งแต่เริ่มต้น พร้อมสร้างฐานลูกค้าไปในเวลาเดียวกัน การผลิตแบบ ODM ก็อาจตอบโจทย์ได้มากกว่า

เมื่อรู้แบบนี้แล้ว เจ้าของแบรนด์หรือคนทำแบรนด์อาหารเสริมทุกคนต้องแยกความแตกต่างของ ODM และ OEM อาหารเสริมเพื่อเลือกโรงงานผลิตที่ตอบโจทย์ความต้องการได้ด้วยนะ

Previous article“โบว์ แวนด้า” ซื้อรถเงินตัวเอง ของมะลิยังอยู่ครบ
Next articleCyberpunk 2077 มีข่าวลือเตรียมอัปเดตครั้งใหญ่เร็ว ๆ นี้