โรคพิษสุนัขบ้าในแมว มีอาการ และมีสาเหตุจากอะไรบ้าง

5021

ช่วงหน้าร้อนเรามักจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้า โดยในปีนี้เองมีการระบาดของโรคนี้ค่อนข้างมากและรุนแรง ที่เกิดจากสุนัข แต่ถ้าจริงแล้วยังมีสัตว์อีกหลายประเภทที่สามารถเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้นะคะ อย่างแมวที่เราเลี้ยงกันตามบ้าน ก็มีโอกาสเป็นโรคพิษสุนัขบ้าได้ เรามาทำความเข้าใจกับ โรคพิษสุนัขบ้าในแมว กันเถอะคะ

โรคพิษสุนัขบ้าในแมว

โรคพิษสุนัขบ้าเกิดจากเชื้อพิษสุนัขบ้าหรือเชื้อไวรัส Rabies ที่อยู่ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบบ่อยมากที่สุดคือสัตว์ในตระกูลของสุนัข (รวมทั้งหมาป่า) และสัตว์ตระกูลแมว แมวป่า นอกจากนี้ยังพบได้ในค้างคาว หมู วัว ควาย แกะ แพะ ม้า กระรอก แรคคูน สกั้งค์ และหมูป่า

อาการของแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าและแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. อาการอัมพาต อาจสังเกตได้จากมีอาการอ่อนแรง ชักกระตุก เดินโซเซ ใช้ขาหลังทั้ง 4 ข้างไม่สัมพันธ์กันและอาจมีอาการอัมพาตตามมาได้

2. นิสัยเปลี่ยนแปลงไปฉุนเฉียวบางครั้ง โดยทั่วไปแล้วแมวที่ติดโรคพิษสุนัขบ้าที่ได้รับเชื้อมาใหม่ๆจะแสดงอาการผิดปกติไม่มากนัก แต่หลังจากนั้นประมาณ 1-3 วัน จะเริ่มมีอาการที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ มีนิสัยเปลี่ยนแปลง ดุร้าย ตาขวาง น้ำลายยืดและอาจมีอาการชักกระตุก เดินเซ

แมวที่ถูกสัตว์ที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัด จะแสดงอาการให้เห็นภายใน 18 วันทั้งนี้ขึ้นออยู่ว่าเป็นแมวที่โตเต็มวัยและมีความต้านทานต่อโรคสูง ทำให้ระยะฟักตัวโรคก็จะยาวนานมากกว่าแมวเด็ก

อาการของ โรคพิษสุนัขบ้าในแมว แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

1. อาการระยะเริ่มแรก แมวที่เคยชอบเล่นกับคน ขี้เล่น แต่กลับขู่เจ้าของ ข่วน หรือกัด แสดงด้วยอารมณ์ฉุนเฉียวฉับพลันหรืออาจหลบซ่อนตัวในที่มืด

2. อาการระยะตื่นเต้น ในระยะนี้แมวจะมีอาการกล้ามเนื้อสั่น กล้ามเนื้อทำงานไม่สัมพันธ์กับระบบประสาท มีการกลืนน้ำลายลำบาก น้ำลายไหลเนื่องจากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวและการกลืนเป็นอัมพาต แมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะแสดงอาการนี้ประมาณ 2 – 4 วันซึ่งเป็นช่วงที่อันตรายแก่เจ้าของอย่างมาก

3. อาการระยะอัมพาต จะเริ่มมีอาการอัมพาตที่ส่วนท้ายของลำตัวก่อนแล้วแพร่ไปยังส่วนลำตัวและหัว จนเกิดอัมพาตทั้งตัวและตายในที่สุด

การติดต่อโรคพิษสุนัขบ้าในแมว ตามธรรมชาติแล้วเกิดจากการได้รับเชื้อจากน้ำลายของแมวที่เป็นโรคพิษสุนัขบ้ากัดหรือจากน้ำตา โรคพิษสุนัขบ้าจะเริ่มขับออกมาทางน้ำลายของแมวในช่วงระยะเวลา 1 วันก่อนแสดงอาการและจะอยู่ในน้ำลายตลอดจนกระทั่งแมวตาย

หากสงสัยว่าแมวป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าควรปรึกษาแพทย์และจับแมวขังกรงอย่างมิดชิด แพทย์จะทำการกักแมวที่ต้องสงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้าเป็นระยะเวลา 10 วันซึ่งส่วนมากหากแมวติดเชื้อมักจะตายภายใน 10 วันนี้ โรคพิษสุนัขบ้าสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจสอบของเหลวในสมอง น้ำลายและปัสสาวะของแมวแต่ไม่สามารถตรวจได้จากเลือด โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าแมวป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้าจะรักษาไม่หาย แพทย์ส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้ทำการกรุณาฆาต เมื่อแมวตายแล้วจะนำมาผ่าซากเพื่อนำของเหลวและสารคัดหลั่งไปตรวจสอบและยืนยันว่าติดเชื้อ

ในกรณีที่แมว 1 ตัวในบ้านป่วยเป็นโรคพิษสุนัขบ้านเจ้าของจำเป็นต้องแจ้งให้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบและกักบริเวณแมวตัวอื่นๆไว้ในกรงอย่างต่ำ 6 เดือนหากไม่มีสัตว์ตัวอื่นในบ้านให้ทำการการฆ่าเชื้อบริเวณที่เลี้ยงแมวทันทีโดยสวมถุงมือและรองเท้าเพื่อไม่ให้สัมผัสกับน้ำยาหรือสารคัดหลั่งของแมวโดยตรงเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคพิษสุนัขบ้าคะ

ข้อมูลอ้างอิง

โรคพิษสุนัขบ้า: ku.ac.th
โรคพิษสุนัขบ้าในแมวถึงจะชื่อว่าโรคสุนัขบ้า แต่แมวก็เป็นได้เหมือนกันนะ: honestdocs.co
โรคพิษสุนัขบ้านในสุนัขและแมว: prachinburianimalhospital.com

Previous articleประโยชน์ของ ปลาแซลมอน มีอะไรบ้าง
Next articleโรคตากุ้งยิง มีวิธีป้องกัน และรักษาอย่างไรให้ถูกวิธี