โรคกรดไหลย้อน รักษาด้วยตัวเองได้

1868

โรคกรดไหลย้อน หรือ GERD (gastroesophageal Reflux Disease) เป็นภาวะที่น้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่หลอดอาหาร เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่นความผิดปกติของหูรูส่วนปลายหลอดอาหาร ที่มีความดันหูรูดต่ำหรือเปิดบ่อยกว่าในคนปกติ ความผิดปกติในการบีบตัวของหลอดอาหาร และความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารค้างในกระเพาะนานกว่าปกติ

โรคกรดไหลย้อน

ลักษณะอาการของผู้ที่เป็น โรคกรดไหลย้อน คือ

1. จุกเสียดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือยอดอกหลังรับประทานอาหารสัก 30-60 นาที

2. แน่นหน้าอกคล้ายอาหารไม่ย่อย ท้องอืด แน่นท้อง

3. อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน

4. อาจมีอาการเรอเปรี้ยว ขมคอ หายใจมีกลิ่น เสียงแหบ เจ็บคอ ไอ ซึ่งอาการเหล่านี้จะเป็นๆหายๆ เป็นมากกว่า 2 ครั้งต่อสัปดาห์ แต่ละครั้งจะเกิดนาน 1-2 ชั่วโมง

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อนที่มีอาการไม่มากนัก

สามารถรักษาได้ด้วยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรค ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตของตนเอง ให้ถูกต้อง ดังนี้

1. ระวังเรื่องโรคอ้วน ไม่ควรรับประทานอาหารมากเกินไป ควรรับประทานให้พอเหมาะกับการใช้พลังงานในแต่ละวัน ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามรายบุคคล หากคุณสามารถควบคุมปริมาณอาหารได้ ไม่อ้วน นั้นหมายถึงว่าคุณสามารถลดอัตราการเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆตามมาด้วย เช่น มะเร็ง ความดันโลหิตสูง เบาหวาน เป็นต้น

2. ลดหรือเลิกรับประทานอาหารที่จะไปกระตุ้นการเกิดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารมากขึ้น เช่น อาหารทอดต่างๆ (มีไขมันสูงทำให้ต้องใช้เวลาย่อยนาน) นม เนย ช็อกโกแลต (ในช็อคโกแลตมีสารคาเฟอีน ไขมันสูงและปริมาณโกโก้ที่มากเกินไป) น้ำมะเขือเทศ น้ำส้ม ชา กาแฟ สุรา เครื่องดื่มแอลกฮอล์ (มีฤทธิ์กระตุ้นให้กล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเปิดออก) โชดา (มีฟองคาร์บอนไดออกไซด์ คาเฟอีนมาก) หัวหอม พริก หอมแดง สะระแหน (จะไปเพิ่มกรดแก๊สในกระเพาะอาหาร) อาหารมักดอง

3. ไม่ควรเอนหลัง นอน นั่งงอตัว หรือโค้งตัว หลังจากที่รับประทานอาหารมื้อหลักๆ อย่างน้อย 3 ชั่วโมง รวมทั้งไม่ควรบริโภคอาหารเมื่อใกล้เวลาเข้านอน

4. ไม่ควรรับประทานอาหารมื้อเย็นใกล้กับเวลานอน เพราะการนอนทำให้กระเพาะกดหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง

5. ควรรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆแทนการทานมื้อใหญ่ 3 มื้อต่อวัน เพราะการทานอาหารครั้งละมากๆทำให้กระเพาะขยายตัว เพิ่มแรงดันต่อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower Esophageal Sphinctor)

6. ควรหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ

7. ไม่ควรทำกิจกรรมที่ต้องก้มตัวลงมา เช่น ถูบ้าน กวาดได้ หลังจากรับประทานอาหาร

8. หลีกเลี่ยงสถานะการณ์หรือสภาวะที่ทำให้เกิดความเครียดในระหว่างมื้ออาหาร เช่น การทะเลาะ,การถกเถียงกัน, การโต้แย้ง รวมทั้งภาวะความเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันด้วย

9. ควรหนุนหมอนสูงสักประมาณ 6 นิ้ว หรือนำผ้ามาหนุนบริเวณเหนือเอวให้สูงขึ้น เนื่องจากการนอนราบจะทำให้กระเพาะอาหารกดหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง

10. ไม่ควรใส่เสื้อผ้ารัดรูป หรือรัดเข็มขัดแน่นจนเกินไป

11. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เนื่องจาก

  • บุหรี่ลดการสร้างน้ำลาย และเป็นตัวทำลายสารไบคาร์บอนเนตที่อยู่ในน้ำลาย ซึ่งสารตัวนี้สามารถช่วยลดความเป็นกรด เคลือบหลอดอาหารและช่วยล้างให้กรดกลับลงไปสู่กระเพาะ
  • บุหรี่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายที่อยู่ระหว่างหลอดอาหารและกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ
  • บุหรี่จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป
  • บุหรี่ลดการผลิตไบคาร์บอเนตของตับอ่อน ซึ่งเป็นตัวลดกรดในในลำไส้เล็ก
  • บุหรี่จะกระตุ้นการเคลื่อนที่ของเกลือน้ำดี (Bile Salt) จากลำไส้มายังกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกรดเพิ่มขึ้นในกระเพาะอาหาร

วิธีเหล่านี้เป็นการรักษาเบื้องต้นของผู้ที่เป็นโรคกรดไหลย้อน ลองนำไปปฎิบัติกันดูนะคะ ทำได้โรคก็หายคะ

ข้อมูลอ้างอิง

กรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease): haamor.com
โรคกรดไหลย้อน: bumrungrad.com
8 วิธีแก้ โรคกรดไหลย้อน ทำง่ายได้ผลจริง: goodlifeupdate.com
10 วิธีที่จะหยุดอาการกรดไหลย้อน: : honestdocs.co
การสูบบุหรี่ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอกได้อย่างไร: honestdocs.co

Previous articleสัญญาณที่อาจจะเป็น โรคไบโพล่าร์
Next articleวิธีดับกลิ่นตัว สมุนไพรช่วยลดกลิ่นตัวหาไม่ยาก แบบง่ายๆ และประหยัด