สัญญาณที่อาจจะเป็น โรคไบโพล่าร์

715

ปัจจุบันเรามักได้ยินชื่อโรคแปลกๆมากยิ่งขึ้น บางโรคก็ไม่รู้ว่าอาการเป็นอย่างไร เพราะเกิดในอัตราที่น้อยมาก แต่บางโรคก็มีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นทุกวัน อย่างโรคอารมณ์สองขั้ว หรือ ไบโพล่าร์ไบโพล่าร์

ไบโพล่าร์ (Bipolar Disorder) เป็นโรคทางอารมณ์ ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นคนอารมณ์สองขั้ว คือภาวะอารมคลุ้มคลั่ง (Mania/Hypomania) และภาวะอารมณ์ตกหรือซึมเศร้า (Major Depressive Episode) อาจเกิดจากการผิดปกติของสารสื่อประสาท ฮอร์โมน พันธุกรรม และมีปัจจัยทางสังคม เช่น ความเครียด ปัญหาชีวิต มากระตุ้นให้เกิดการแสดงอาการของโรค สัญญาณที่จะช่วยสังเกตว่าคุณหรือคนรอบตัวคุณกำลังเผชิญกับโรคไบโพล่าหรือไม่ ได้แก่

1. มีอาการของโรคซึมเศร้า เช่น ไม่อยากรับประทานอาหาร นอนไม่ค่อยหลับ ไม่มีสมาธิ ไม่มีเรี่ยวแรง เราสามารถแยกภาวะซึมเศร้าในโรคไบโพลาจากโรคอารมณ์ซึมเศร้าได้ด้วยอาการเด่นๆดังนี้

  • มักเกิดครั้งแรกในช่วงวัยรุ่น มีประวัติเป็นๆหายๆ หลายครั้ง
  • มีการเคลื่อนไหวและความคิดช้าลง
  • ฃนอนมาก รับประทานมาก
  • มักมองว่าตนเองไร้ค่า ไม่มีประโยชน์ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม
  • มักโลกที่เคยสดใสว่ามืดมน ไม่ร่าเริง
  • มีความวิตกกังวลรุนแรง
  • มีอาการหลงผิดเกิดขึ้นร่วมกับอาการทางอารมณ์
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ มองว่าคนอื่นไม่สนใจ ไม่เป็นมิตร
  • มีประวัติติดสารเสพติด
  • มีคนในครอบครัวเป็นโรคไบโพล่า หรือโรคซึมเศร้า

2. พูดเร็ว เสียงดัง คนทั่วไปจะพูดเร็วเมื่อรู้สึกตื่นเต้น แต่ผู้ป่วยไบโพล่ามักจะพูดและคิดเร็ว มักจะพูดแทรกคนอื่น ไม่สนใจบทสนทนาของคนอื่น มักเปลี่ยนหัวข้อการสนทนา ทำให้คนที่ร่วมสนทาด้วยไม่เข้าใจว่าเขากำลังพูดอะไร เพราะผู้ป่วยมักจะคิดหลายๆเรื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่งการพูดเร็วเช่นนี้มักจะเกิดในช่วงที่ผู้ป่วยมีอาการฟุ้งซ่าน

3. ทำงานไม่สำเร็จ ไม่มีสมาธิ  เมื่อผู้ป่วยเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ทำให้การทำงานไม่สามารถลุล่วงไปได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ที่มีงานค้างเป็นจำนวนมากอาจเป็นสัญญาณของโรคไพโบล่าได้ เพราะไม่สามารถจดจ่อกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ

4. อารมณ์ดีมากเกินไป ถือว่าเป็นอาการสุดโต่งที่เรียกว่า (manic Episode) ซึ่งบางคนก็แค่รู้สึกค่อนข้างดี (Hypomanic Episode) คล้ายกับคนปกติ ซึ่งผู้ป่วยโรคไบโพล่าจะมีอาการทั้งสองสลับกันไป

5. หงุดหงิดง่าย ฉุนเฉียวง่าย ผู้ป่วยมักจะมีความอดทนต่ำ แม้แต่ในเรื่องเล็กน้อย  ผู้ป่วยจะสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมตนเอง แต่รู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จนความหงุดหงิดที่เกิดส่งผลเสียงต่อการใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

6. มีพฤติกรรมที่ไม่สม่ำเสมอ และไม่คิดถึงผลที่จะเกิด ในขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในช่วงฟุ้งพล่าน จะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง จะโอ้อวด เชื่อว่าตนเองเก่ง สามารถควบคุมทุกสิ่งได้ เอาแต่ใจ บางครั้งอาการของโรคยังกระตุ้นพฤติกรรมทางเพศที่เสี่ยงหรือใช้เงินฟุ่มเฟือยอย่างน่าประหลาดใจ อาการเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นหากอยู่ในภาวะปกติ มีการเผยแพร่การศึกษาระบุไว้ว่า คนที่เป็นโรคนี้จะตั้งเป้าหมายที่สูงขึ้นสำหรับตัวเองและแสดงความคาดหวังที่สูงขึ้นในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้

7. นอนน้อย ผู้ป่วยจะพักผ่อนไม่เพียงพอ แต่จะไม่รู้สึกเหนื่อยล้า แต่ถ้าผู้ป่วยอยู่ในช่วงซึมเศร้า ถึงแม้จะนอนหลับมากเพียงใดก็จะรู้สึกว่านอนไม่พออยู่ดี

8. ดื่มเหล้าและใช้ยาเสพติด ซึ่งผู้ป่วยมักจะใช้เหล้าและยาเสพติดช่วยบรรเทาอาการซึมเศร้า จนกลายเป็นผู้ติดยา ยิ่งกว่านั้นสิ่งเหล่านี้จะไปลดประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ของยาลดลง

9. มีความต้องการทางเพศสูง มักคิดถึงแต่เรื่องเซ็กส์ตลอดเวลา มีความต้องการทางเพศที่ผิดปกติได้

หากสงสัยว่าตนเองหรือคนรอบข้างป่วยด้วยโรคนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีนะคะ จะได้รักษาได้ทันการณ์

ข้อมูลอ้างอิง

โรคอารมณ์สองขั้ว: med.mahidol.ac.th
8 สัญญาณที่อาจเข้าข่ายเป็นโรคไบโพล่าร์: th.thecabinbangkok.co.th
โรคไบโพล่าร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว: manarom.com
โรคไบโพล่า 9 สัญญาณเตือนบอกให้รู้ว่าคุณอาจกำลังเป็นโรคนี้อยู่: orami.co.th

 

Previous articleการกินอาหารแบบ คีโตเจนิค ไม่ต้องกลัวไขมัน
Next articleโรคกรดไหลย้อน รักษาด้วยตัวเองได้