ปวดหัวด้านซ้ายอาจเป็น ❝ ไมเกรน ❞ ได้

2211

สภาวะตึงเครียดที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน การเร่งรีบ มลภาวะ รวมทั้งการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดโรคต่างๆตามมามากมาย แต่หนึ่งอาการที่เราพบว่าเกิดบ่อยขึ้นนั้นก็คืออาการปวดศีรษะ นั่นเอง

ไมเกรน

การปวดศีรษะเป็นการปวดที่เกิดขึ้นบริเวณศีรษะหรือคอส่วนบน เกิดจากเนื้อเยื่อและโครงสร้างรอบกระโหลกศีรษะหรือสมองเกิดการอักเสบ ระคายเคือง จนทำให้เกิดการปวดหัว โดยอาการปวดมาจากเส้นประสาทบริเวรหนังศีรษะ ใบหน้า ปาก คอ กล้ามเนื้อคอ ไหล่ และหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งผ่านเลือดไปเลี้ยงสมอง

อาการปวดศีรษะข้างเดียว คือปวดบริเวณขมับ เบ้าต้า รอบๆตา หน้าผาก ด้านใดด้านหนึ่ง ซ้ายหรือขวาเพียงด้านเดียว ซึ่งอาการปวดแบบนี้จะเป็นๆหายๆ หรือเป็นตลอดเวลาได้ ผู้ที่มีอาการปวดศีรษะด้านเดียวมันจะมีลักษณะการปวดหลายแบบ ได้แก่ การปวดตุ้บๆ แบบไมเกรน , การปวดตื้อๆ ตุ๊บๆ ตลอดเวลา และการปวดเสียวแปล๊บๆ แบบปวดเส้นประสาท

อาการปวดศีรษะสามารถเกิดขึ้นด้านใดด้านหนึ่ง ซึ่งสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้

  • ปวดศีรษะไมเกรน
  • ปวดศีรษะคลัสเตอร์

ปวดศีรษะข้างเดียวแบบปวดเส้นประสาทและน้ำตาไหล ตาแดง (Short-lasting Uni lasteral Neuralgiform Headache attack with Conjunctival injection and tearing : SUNCT)

ปวดศีรษะข้างเดียวแบบปวดเส้นปะรสาท ร่วมกับอาการระบบประสาทอัติโนมัติผิดปกติ (Short-lasting Unilateral Neuralgiform with cranial Autonomic features: SUNA)

ปวดศีรษะข้างเดียวไม่เปลี่ยนข้าง (Paroxysmal hemicranial continua /Hemi cranial continua)

แต่จากการศึกษาพบว่าการปวดศีรษะข้างเดียวที่พบได้บ่อยคือการปวดศีรษะแบบ ไมเกรน (Migraine) เป็นการปวดศีรษะด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะกำเริบเป็นพักๆ ความปวดจะอยู่ในระดับปานกลาง และมีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ ตากลัวแสง เป็นต้น

ผู้ที่เป็น ไมเกรน นั้นสามารถรักษาได้ คือ

1. หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น ซึ่งมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น

  • ความเครียด จึงควรหาวิธีผ่อนคลาย เช่น การนวด การฝึกสมาธิ เป็นต้น
  • การพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนทำให้เกิดการปวดศีรษะขึ้น
  • การเจอแสงแดดหรือแสงไฟสว่างเกินไป กลิ่นที่รุนแรง จากน้ำหอม น้ำมันเครื่อง บุหรี่
  • อาหารบางชนิด เช่น เนย โยเกิร์ต กล้วย ช็อคโกแลต ไส้กรอก ถั่วต่างๆ ซีอิ๊ว น้ำส้มสายชู ผักดอง ผงชูรส
  • สารเคมีในอาหาร เช่น สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล สารกันบูด
  • เครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ (ควรบริโภคสารคาเฟอีนไม่เกิน 200 มิลลิกรัมหรือกาแฟขนาด 8 ออนซ์ 1  แก้ว)
  • ประจำเดือน ซึ่งเป็นช่วงที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงทำให้เกิดการปวดศีรษะ
  • สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียด
  • การติดเชื้อเนื่องจากไม่สบายฃ
  • เมารถ เมาเรือ
  • การอดอาหาร ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนแปลงส่งผลให้ปวดศีรษเพิ่มากขึ้น

ถ้าคุณมีแนวโน้มที่จะเกิดการปวดศีรษะไมเกรน คุณควรจดบันทึกว่าคุณปวดศีรษะข้างเดียวเมื่อไหร่ คุณทำอะไรก่อนปวดศีรษะ และเกิดนานแค่ไหน

2. รักษาด้วยยา การใช้ยารักษานั้นสามารถแบ่งได้เป็น 2 ช่วง คือ

  • ช่วงที่มีอาการปวดศีรษะ ผู้ป่วยมักจะได้รับยาบรรเทาอาการปวดศีรษะที่มีทั้งแบบกินและแบบฉีด ยาที่รู้จักกันดีคือ ยาคาเฟอร์กอท
  • ช่วงไม่มีอาการปวดศีรษะเพื่อป้องกันการเกิดอาการของโรค ลดความถี่และความรุนแรงของอาการ ซึ่งมีตัวยาอยู่หลายตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ โดยแพทย์จะพิจารณาจากอาการปวดว่าเกิดขึ้นบ่อยเพียงใด ในการปวดแต่ละครั้งกินระยะเวลานานแค่ไหน อาการปวดที่เกิดขึ้นส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากน้อยเพียงใด  เป็นต้น

การปวดไมเกรน เป็นอาการปวดศีรษะด้านเดียวที่พบบ่อยที่สุด และนับวันผู้ป่วยจะมีอาการรุนแรงมากขึ้น สำหรับผู้ที่ยังมีอาการเพียงเล็กน้อยควรปรับพฤติกรรมของตนเองที่จะกระตุ้นให้อาการรุนแรงมากขึ้น ส่วนผู้ที่มีอาการรุนแรงควรรีบปรึกษาแพทย์สามารถรักษาได้คะ

ข้อมูลอ้างอิง

16 วิธีแก้อาการปวดไมเกรนที่มีประสิทธิภาพสูง: somanao.com
ปวดหัว ปวดศีรษะ (Headache): haamor.com
ปวดศีรษะข้างเดียว อาการปวดศีรษะข้างเดียว (Hemicranial Headache): haamor.com
ไมเกรน (Migraine): haamor.com

Previous articleบุหรี่ไฟฟ้า ดีกว่าบุหรี่ทั่วๆไปจริงหรือไหม
Next articleดีท็อกซ์ หรือ ล้างพิษลำไส้ คืออะไร มีประโยชน์อะไรบ้าง