โรคลมชัก อาการชักกระตุก สาเหตุและการรักษา

8838

โรคลมชัก (การชักเกร็ง) คือ อาการชักกระตุก เกร็งกล้ามเนื้อส่วนต่างๆ ของร่างกาย เกิดได้ในทั้งที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว เกิดขึ้นเนื่องจากกลุ่มเซลล์ในระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติไปชั่วคราว ทำให้หน้าที่ของสมองผิดปกติไปชั่วขณะอันจะทำให้เกิดอาการต่างๆ อาจมีอาการปัสสาวะ อุจจาระราด รวมทั้งกัดลิ้นตนเองได้ในระหว่างชัก

โรคลมชัก

สาเหตุการเกิดโรคลมชัก (ชักเกร็ง)

การเกร็งชักนั้นเราเรียกว่าเป็น โรคลมชัก อาการชักส่วนใหญ่เกิดจากการมีพยาธิสภาพหรือความผิดปกติที่สมอง อาจเนื่องมาจากสาเหตุ เช่น อุบัติเหตุ สมองอักเสบ เนื้องอก เส้นเลือดสมองพิการแต่กำเนิด โรคพันธุกรรมและพยาธิต่างๆในสมอง ซึ่งเป็นการชักเกร็งแบบทราบสาเหตุ และสำหรับการชักโดยไม่สามารถหาสาเหตุได้ ส่วนมากเกิดจากผลตอนคลอดและเกิดแผลเป็นเล็กๆในสมองทำให้มีกลุ่มเซลล์สมองที่มีความไวในการปล่อยกระแสไฟฟ้าผิดปกติออกมาและกระจายไปทั่วสมองทำให้เกิดการชัก เกร็ง และกระตุกทั้งตัว เราเรียกว่า “โรคลมบ้าหมู” ซึ่งโรคลมบ้าหมูมักพบในคนที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคนี้คะ

โรคลมชัก อาจแบ่งได้หลายสาเหตุ

  • เกิดจากสมอง เนื่องจากโรคหรือสิ่งที่กระตุ้นภายในสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง การติเชื้อในสมอง บาดทะยักในทารกแรกเกิดหรือเกิดจากการได้รับสารพิษ เช่น ตะกั่ว ยาฆ่าแมลง ยาเบื่อหนู
  • เกิดจากเมตตาบอลิซึม การเกิดเมตาบอลิซึมที่ผิดปกติขึ้น เช่น ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำเกิน ภาวะยูเรียในเลือดสูง
  • เกิดจากความผิดปกติของอิเลคโตรลัยท์ เกิดความไม่สมดุลของอิเล็โทรลัยต์ เช่น ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ อิเล็กโตลัยท์ คือเกลือแร่ที่มีประจุไฟฟ้าเป็นส่วนประกอบในของเหลวที่อยู่ในเซลล์และนอกเซลล์ คอยควบคุมปริมาณน้ำในร่างกาย ควาเป็น กรด ด่าง เกลือ ของเลือด
  • เกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น อารมณ์เครียด ไข้สูง หรือเกิดจากโรค เช่น หูน้ำหนวก ทอนซิลอักเสบ การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบน มักเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยๆ โดยในเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือน ถึง 5 ปี

อาการชักเกร็งมักมีให้พบเห็นได้หลายรูปแบบ เช่น การชักทั้งตัว จะมีการเกร็งและกระตุกทุกๆส่วนในร่างกาย การชักแบบเฉพาะที่ เช่น กระตุกเฉพาะที่อาจเป็นซีกหนึ่งของร่างกาย  แล้วอาจขยายไปทั้งตัว หรืออาจแสดงอาการบางอาการโดยไม่รู้ตัว อย่าง พูดพึมพำ บ้วนน้ำลาย บางรายอาจมีอาการนำมาก่อนจะมีการชัก เช่น อาการทางหู ทางตา

แนวทางการรักษา โรคลมชัก อาการชักเกร็ง

การช่วยเหลือผู้ที่มีอาการชักเกร็ง คือ ต้องกันผู้ป่วยโรคลมชักไว้จากการบาดเจ็บโดยไม่ขัดขวางการเคลื่อนไหว การดิ้นของผู้ป่วย ไม่ควรยึดตรึงผู้ป่วยไว้เพราะอาจทำให้กระดูกหักได้ และครวจับผู้ป่วยนอนหงาย ให้ศีรษะอยู่ต่ำกว่าร่างกาย โดยให้นอนตะแคงหน้าไปด้านใดด้านหนึ่ง เพื่อป้องกันการสำลักและลิ้นตกไปอุดตันทางเดินหายใจ  คลายเสื้อผ้าให้หลวม พยายามกันไม่ให้คนมุงเพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก และตรวจการเต้นของชีพจรถ้าหัวใจหยุดเต้นก็ให้ทำการกระตุ้นหัวใจ หากชักนานกว่าปกติหรือชักซ้ำ ควรรีบนำส่งโรงพยาบาล หากก่อนชักผู้ป่วยมีอาการนำมาก่อนทำให้สามารถเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นในการช่วยเหลือได้ทันที

ผู้ป่วยที่มีอาการชัก เมื่อมีสติหรือหายจากอาการชักแล้ว มัจะรู้สึกอายและกังวลเมื่อเกิดอาการชักในที่สาธารณะ ทั้งโรงเรียน ที่ทำงาน จะรู้สึกเป็นปมด้อย ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลทางด้านจิตใจไปพร้อมๆกับร่างกายด้วย พยายามให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าอาการชักนี้เป็นที่ยอมรับของสังคม ทุกคนเข้าใจดี ไม่ใช่เรื่องที่น่าอาย และคอยให้กำลังใจแก่ผู้ป่วย

อาการชักจากสาเหตุบางอย่างสามารถรักษาให้หายได้ แต่ถ้าเป็นโรคลมชักไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่สามารถควบคุมอาการให้เกิดน้อยครั้งลงได้ ดังนั้นผู้ป่วยที่รู้ว่าตนเองมีการชักเกร็งอยู่ประจำ ควรหลีกเลี่ยงการขับรถ การว่ายน้ำ และเลี่ยงการทำงานที่เสี่ยงอันตราย เช่น งานก่อสร้าง ขับรถ ทำงานในที่สูง เพราะหากเกิดการชักขึ้นระหว่างการทำกิจกรรมเหล่านี้ อาจทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนและตนเองอาจเสี่ยงเสียชีวิตได้เลยนะคะ

ข้อมูลอ้างอิง
ภาวช็อกและภาวะชัก : science.srru.ac.th
อาการชัก : healthcarethai.com
เรียนรู้รับมือโรคลมชักภัยเงียบใกลตัว : thaihealth.or.th
โรคลมชัก : thailabonline.com

 

Previous articleปัญหาเท้าเหม็น วิธีแก้และรักษาดับกลิ่นเท้าเหม็น
Next article3 สายพันธุ์แมวยอดฮิต เปอร์เซีย สก็อตทิชโฟลด์ และอเมริกันชอร์ตแฮร์