รักษาหลุมสิว ด้วยตัวเองง่ายๆ ให้หายขาดเพียงไม่กี่ขั้นตอน

3590

หลุมสิว จะเกิดจากการอักเสบอย่างรุนแรงใต้ผิวหนัง โดยปกติจะเกิดเป็นหัวหนองขึ้นมาด้วย หากพยายามบีบสิวอย่างผิดวิธี ก็จะเกิดการอักเสบและไปกระตุ้นให้เกิดสิวมากขึ้น ดังนั้นจึงควรพยายามป้องกันตัวเองอยาให้สิวเกิดการอักเสบไว้ก่อนเป็นดี หากคุณมีปัญหาเรื่องหลุมสิว ก็ควรหาวิธี “รักษาหลุมสิว” ให้หายขาด อย่าปล่อยให้หลุมสิวเป็นปัญหากวนใจคุณอีกต่อไป

รักษาหลุมสิว

ความรุนแรงของหลุมสิว จะแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้

1. หลุมสิวระดับรุนแรง (Ice pick scar) เป็นหลุมสิวที่มีปากแคบและลึก รักษาหลุมสิวได้ยากมาก ต้องใช้เวลาฟื้นฟูผิวค่อนข้างนาน ซึ่งหลุมสิวระดับนี้ การใช้ยาทารักษาหลุมสิวไม่ค่อยได้ผลนัก ช่วยได้แค่ให้รอยหลุมสิวดูตื้นขึ้นมาเท่านั้น

2. หลุมสิวระดับปานกลาง (Box scar) เป็นหลุมสิวที่มีปากคล้ายบ่อ มีขอบชัดเจน แต่มีความตื้นมากกว่าหลุมสิวระดับรุนแรง การรักษาหลุมสิวทำได้โดยการใช้ยาทาควบคู่ไปกับการทำ Treatment และเมื่อหายแล้วจะมีร่องรอยอยู่บ้าง

3. หลุมสิวระดับทั่วไป (Rolling scar) เป็นหลุมสิวแบบตื้นๆ กินพื้นที่แค่ส่วนบนของผิวเท่านั้น การรักษาหลุมสิวระดับนี้ ทำได้ง่าย สามารถใช้ยาทารักษาหลุมสิว และเมื่อหายแล้วเนื้อผิวก็จะเต็มได้

วิธีรักษาหลุมสิวและประเภทของการรักษา

วิธีการรักษาหลุมสิวจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้

1. การรักษาหลุมสิวด้วยการทายา
การรักษาหลุมสิวด้วยวิธีการทายา มักจะใช้กับหลุมสิวระดับทั่วไป ซึ่งยาที่นำมาใช้ทาก็มีอยู่ด้วยกันหลายชนิด แต่คุณสมบัติหลักๆคือ ช่วยให้รักษาการอักเสบและช่วยทำให้ฟื้นฟูผิว ทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น

• ใช้กรด TCA ทาแต้มเฉพาะหลุมสิวเท่านั้น เพื่อช่วยในการเร่งผิวใหม่ให้เกิดการแบ่งตัวเร็วขึ้น ซึ่งจะทำให้หลุมสิวค่อยๆตื้นขึ้น โดยปกติจะทายาอาทิตย์ละครั้ง และจะเห็นผลประมาณ 3-6 เดือน

• การลอกผิวด้วยกรดผลไม้ เช่น กรด AHA, BHA, PHA ช่วยทำให้เซลล์ผิวด้านบนหลุดลอกออกและเกิดการซ่อมแซมผิวทำให้หลุมสิวตื้นขึ้น

• กรดวิตามินเอ ใช้ทาบนรอยหลุมสิว ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน สามารถทาได้บ่อยๆมากกว่าการใช้กรด TCA ปกติจะทาได้อาทิตย์ละ 2 ครั้ง

• ครีมลบลอยแผลเป็น มีส่วนผสมของวิตามินอี, AHA, BHA จะช่วยลบรอยแผลเป็น และริ้วรอยของหลุมสิว นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนใต้ผิวหนังได้อีกด้วย

2. รักษาหลุมสิวด้วยการทานยา
สำหรับการรักษาหลุมสิวด้วยการทานยา มักจะใช้กับหลุมสิวระดับทั่วไปถึงระดับปานกลาง

• ยาที่ใช้จะสกัดจากอนุพันธ์ของวิตามินเอ เช่น Roaccutance Acnotin หรือ Isotretinoin ซึ่งยาในกลุ่มนี้จะไปช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจน เพื่อสร้างผิวใหม่ ช่วยให้หลุมสิวตื้นขึ้น และยังสามารถควบคุมความมันส่วนเกินของผิวได้ด้วย แต่ยาประเภทนี้จะมีผลกับไขมันในร่างกายด้วย อาจทำให้ผิวแห้ง ปากแห้ง หรือตาแห้งได้ การใช้ยาจึงต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ห้ามไปซื้อยามากินเอง

3. การรักษาหลุมสิวด้วยเครื่องมือแพทย์
วิธีรักษาหลุมสิวแบบนี้จะใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการรักษา เช่น การกรอผิว การยิงเลเซอร์ ฯลฯ มักจะใช้กับหลุมสิวที่มีระดับรุนแรง ซึ่งการใช้ยาทาหรือการทานยาอาจเอาไม่อยู่ และการรักษาหลุมสิวประเภทนี้ ต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

• Skin Needing เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กแทงผ่านผิว เพื่อผ่านตัวยาลงในหลุมสิว ช่วยในการสร้างผิวใหม่ และฟื้นฟูผิวที่เสียหายได้เร็วขึ้น การรักษาหลุมสิวแบบนี้ สมัยก่อนเรียกว่า Dermaroller ซึ่งไม่ผ่านการรับรองจาก อย. เนื่องจากการดูแลความสะอาดของอุปกรณ์เป็นไปได้ยาก แต่ปัจจุบันมีการเปลี่ยนมาใช้เครื่องมืออัตโนมัติแล้ว เรียกว่าการทำ Dermaroller

Subcision เป็นการเลาะพังผืดใต้หลุมสิว โดยใช้เข็มลักษณะพิเศษในการตัดพังผืดใต้ผิวหนังออก และทำการเซาะหลุมสิวไปเรื่อยๆทีละหลุม หลังการทำจะมีเลือดออก และเป็นรอยช้ำประมาณ 1-2 สัปดาห์ แต่วิธีนี้อาจมีผลข้างเคียงในการติดเชื้อใต้ผิวหนังได้ จึงไม่ค่อยนิยมมากนัก

• การใช้ฟิลเลอร์ฉีดเติมหลุมสิว หรือเรียกว่า “สารเติมเต็ม” โดยสารที่นิยมใช้กันมากคือ Hyaluronic Acid เนื่องจากเกิดอาการแพ้ได้น้อยกว่าการใช้คอลลาเจน การฉีด 1 ครั้งจะมีผลอยู่ได้ประมาณ 6-12 เดือน หลังจากนั้นจะเสื่อมสลายไปเอง เป็นวิธีที่เหมาะกับการรักษาหลุมสิวระดับทั่วไปถึงระดับปานกลาง

การกรอผิว (Microdermabrasion – MD) เป็นการกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี ช่วยทำให้หลุมสิวตื้น และมีผิวเต็มได้เร็วมากขึ้น การรักษาแบบนี้ไม่ทำให้เกิดแผลใดๆ แต่อาจต้องทำหลายครั้งและใช้เวลานานในการรักษา

เลเซอร์หลุมสิว เป็นวิธีที่นิยมมากในปัจจุบัน การทำเลเซอร์จะกระตุ้นการสร้างชั้นผิวและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ ซึ่งได้ผลดีและมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ รักษาหลุมสิว
วิธีรักษาหลุมสิว : frynn.com
หลุมสิวเกิดจากอะไร : facebook.com/AandKclinic

Previous articleร้อยไหม ช่วยยกกระชับใบหน้าให้เรียวสวยได้อย่างไร
Next articleโรคอีสุกอีใส เกิดจากอะไร วิธีสังเกตุอาการและการรักษาเบื้องต้น