ไวรัสตับอักเสบบี แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง

1600

ปัจจุบันเราพบว่าไวรัสตับอักเสบมีด้วยกันหลายชนิด ได้แก่ ชนิด A B C D และ E สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อแต่ละชนิดจะมีความแตกต่าง แต่ไวรัสตับอักเสบที่เป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทยรวมถึงภูมิภาคเอเชียคือ “ไวรัสตับอักเสบบี” สาเหตุที่มีผู้การติดเชื้อนี้มากเนื่องจากการติดเชื้อในภูมิภาคนี้มักเกิดจากการติดเชื้อจากแม่สู่ลูก ในช่วงระหว่างคลอด

ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี ถือเป็นโรคที่มีความน่ากลัวมากเมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายแล้วผู้ที่ได้รับเชื้อมักจะไม่รู้ตัว เนื่องจากไม่มีอาการป่วยใดๆ โรคจะดำเนินไปอย่างช้าๆ บางรายอาจจะมีไข้ ปวดเมื่อย ซึ่งมักเข้าใจผิดว่าเป็นไข้หวัด ไวรัสตับอักเสบบีเป็น DNA ไวรัสชนิดหนึ่งซึ่งต้องอาศัยนิวเคลียสของตับเพื่อพัฒนาเป็นตัวไวรัสที่สมบูรณ์ เมื่อไวรัสพัฒนาสมบูรณ์แล้วก็จะกระจายอยู่ในกระแสเลือดแพร่เชื้อสู่เซลล์อื่นๆต่อไป

ไวรัสตับอักเสบบี แบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ

1. แบบเฉียบพลัน สามารถรักษาหายได้ภายใน 6 เดือน เมื่อรับเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ผู้ป่วยจะมีอาการเป็นไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ตับอักเสบ ตัวเหลือง ตาเหลือง เมื่อตรวจตับจะพบว่ามีค่าการทำงานสูง หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมา ทำให้หายจากโรค แต่ถ้าภูมิคุ้มกันไม่สามารถจัดการกับเชื้อไวรัสได้ก็จะกลายเป็นโรคไวรัสตับอักเสบชนิดเรื้อรังซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยเป็นโรคตับแข็งมะเร็งตับ ต่อมา

2. แบบเรื้อรัง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อตั้งแต่เด็ก โดยได้รับเชื้อจากมารดาในระหว่างคลอด หรือจากคน สิ่งแวดล้อมตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งภูมิต้านทานร่างกายยังไม่แข็งแรง และไม่รู้จักเชื้อโรคตัวนี้ เชื้อจึงสามารถเข้าไปอยู่ในตับได้โดยไม่ถูกต้านทานและแพร่พันธุ์ไปเรื่อยๆ เมื่อโตขึ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายก็จะสามารถต่อสู้กับเชื้อไวรัสได้มากขึ้น บางรายสามารถหายได้

การติดต่อของไวรัสตับอักเสบบีมีได้หลายช่องทาง เช่น

  • จากแม่สู่ลูก เกิดจากที่เลือดของแม่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบี และลูกสัมผัสกับเลือดของแม่ช่องทางใดช่องทางหนึ่ง ซึ่งการติดเชื้อไวรัสระหว่างคลอดนับเป็นช่องทางการติดต่อที่สำคัญที่สุด ผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีทั้งหมดจะได้รับเชื้อจากช่องทางนี้ อย่างไรก็ตามถึงแม่จะมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีก็ไม่ได้หมายความว่าลูกทุกคนจะต้องติดเชื้อ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อในแม่ขณะคลอดมีมากหรือน้อยเพียงใด ด้วยเหตุนี้แพทย์จะทำการตรวจเลือดของคุณแม่ก่อนคลอดประมาณ 3 เดือน
  • การติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เป็นช่องทางการติดเชื้อในวัยผู้ใหญ่ โอกาสการติดเชื้อสูงกว่าการติดเชื้อไวรัส HIV มากถึง 200 เท่า เพราะปริมาณไวรัสตับอักเสบบีในเลือดหรือสารคัดหลั่ง อย่าง อสุจิ น้ำหล่อลื่น สูงกว่าไวรัส HIV มาก
  • จากการใช้เข็มร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น การสัก การเจาะ การฝังเข็ม หากทำไม่ถูกวิธีอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเชื้อไวรัสชนิดนี้ และไม่สามารถฆ่าเชื้อได้ด้วยการนำเข็มล้างในแอลกอฮอล์เพียงระยะเวลาสั้นๆ
  • ติดต่อทางเลือด ปัจจุบันมีโอกาสน้อยมาก เนื่องจากเลือดที่ได้รับการบริจาคจะต้องมีการรตรวจคัดกรองเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เสียก่อนนำมาใช้
  • ติดต่อทางการคลุกคลีกับผู้ติดเชื้อ หากมีบาดแผล หรือต้องสัมผัส โอบกอด หอมแก้ม หรือจูบผู้ติดเชื้อ อาจทำให้บาดแผลนั้นสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อโดยตรงจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้สูง

ด้วยการพัฒนาทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าปัจจุบันการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีจึงมีประสิทธิภาพมากขึ้นและยังช่วยป้องกันไม่ให้โรคลุกลามรุนแรงต่อไป ทั้งนี้เราจำเป็นต้องดูแลตัวเอง ลดความเสี่ยงต่อปัจจัยที่จะทำให้เกิดโรค รวมทั้งควรพักผอนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อสร้างภูมิต้านทานของร่างกายของเราคะ

ข้อมูลอ้างอิง

มารู้จักไวรัสตับอักเสบกันเถอะ: tm.mahidol.ac.th
ไวรัสตับอักเสบบีติดเชื้อได้ไม่รู้ตัวซ: bumrungrad.com

Previous articleยาถ่ายพยาธิ ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีอะไรบ้าง
Next articleมหาหิงค์ ยาสามัญประจำตัวเด็ก