สรรพคุณและประโยชน์ของ ว่านรางจืด

22281

สมุนไพรไทยมีด้วยกันหลายชนิด แต่ถ้าจะกล่าวถึงสมุนไพรที่สามารถถอนพิษได้ คงไม่มีใครจะมองข้ามพืชชนิดนี้ไปได้ นั่นก็คือ “ ว่านรางจืด

ว่านรางจืด
ขอบคุณรูปภาพจาก wikipedia

รางจืดได้รับสมญานามว่าเป็นราชาแห่งการถอนพิษ ไม่ว่าจะเป็นพิษจากยาฆ่าแมลง ยาเบื่อ สารตะกั่ว เป็นต้น เป็นสมุนไพรไทยอีกชนิดหนึ่งที่ควรจะปลูกไว้ที่บ้าน เผื่อนำมาใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้นให้ผู้ถูกสารพิษ ก่อนนำส่งโรงพยาบาล

รางจืดหรือว่านรางจืด เป็นพื้นไม้เลื้อย ไม้เถา มีเนื้อแข็ง ใบสีเขียวสดลักษณะคล้ายรูปหัวใจหรือรูปไข่ ดอกสีม่วงอมฟ้า มีกลีบ 5 กลีบ ออกเป็นช่อห้อยลงมาตามซอกใบ ส่วนผลจะเป็นฝักกลม สามารถขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ เติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อนและอบอุ่น พบได้ทุกภาคของประเทศไทยคะ

สรรพคุณของว่านรางจืดตามตำรายาไทยจัดว่าเป็นยารสเย็น ใช้ปรุงเป็นยาเขียวสำหรับลดไข้ ถอนพิษ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ โรคหอบหืด ผื่นคัน แก้พิษเบื่อเนื่อจากเห็ดพิษ สารหนู หรือยาฆ่าแมลง

ส่วนของ ว่านรางจืด ที่นำมาใช้ประโยชน์ได้แก่

ใบ นำมาต้ม คั้นสด หรือตากแห้งสำหรับชงชา ไม่ควรเลือกใบที่แก่หรืออ่อนเกินไป (ใบเพสลาด)

ราก มีสรรพคุณทางยามากกว่าใบ 4-7 เท่า นำรากมาใช้โดยการฝนกับน้ำ ดื่มแก้พิษ รากที่ให้ตัวยาที่ดีต้องมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป หรือมีขนาดใหญ่เท่านิ้วก้อย

รางจืดสามารถนำมารักษาหรือบรรเทาอาการของโรคได้ สามารถใช้เป็นยาแก้ร้อน แก้อาการกระหายน้ำ ยาพอกบาดแผล รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้อาการผื่นแพ้ แก้พาจากสัตว์ อย่าง แมงดาทะเล ปลาปักเป้า ช่วยต้านพิษจากสารตะกั่วที่ส่งผลต่อสมอง บรรเทาอาการปวดท้องหรือท้องเสียจากการรับประทานอาหาร แก้อาการเมาค้าง หรือหากใครไม่อยากดื่มเหล้าเมาให้เคี้ยวใบรางจืด

ปัจจุบันได้มีการนำว่านรางจืดมาทดลองมากขึ้นและได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ พบว่ารางจืดสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้บีต้าเซลล์ของตับอ่อนฟื้นฟูขึ้นควบคุมเบาหวาน ความดันได้ ใบรางจืดจะยังช่วยกระตุ้นประสาท คล้ายๆกับสารแอมเฟตามีน จึงสามารถนำมาทดแทนยาเสพติดในผู้ติดยาได้ ทำให้เลิกยาเสพติดได้

ถึงแม้ว่านรางจืดจะเป็นสมุนไพร แต่หากเรารับประทานไม่ถูกวิธีและไม่ควบคุมปริมาณการทานแล้วก็ย่อมจะส่งผลเสียมากกว่าผลดีต่อร่างกายเรานะคะ เภสัชกรได้ออกมาแนะนำว่า ไม่ควรรับประทานว่านรางจืดในปริมาณความเข้มข้นที่สูงเกินไป และไม่ควรกินหรือดื่มติดต่อกันเป็นประจำทุกวัน ว่านรางจืดจะเป็นอันตรายต่อระบบการทำงานของเลือด ตับ และไต ปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการรับประทานว่านรางจืดคือ

1. ว่านรางจืดชนิดชาซอง น้ำหนักซองละ 2-3 กรัม ควรชงกับน้ำร้อนปริมาณ 200 มิลลิลิตร รับประทานได้ไม่เกินวันละ 3 ซอง

2. ว่านรางจืดชนิดต้มใบสด ควรใช้ใบรางจืด 5-7 ใบ ใส่ลงในกาต้มน้ำ ต้มจนเดือดสัก 15-20 นาที ดื่มครั้งละ 1 แก้ว สามารถรับประทานได้วันละ 4-5 ครั้ง

3. ว่านรางจืดชนิดแคปซูล สามารถรับประทานได้ครั้งละ 500 มิลลิกรัม -1 กรัม วันละ 3 ครั้ง ก่อนมื้ออาหาร

ใบรางจืดยังสามารถนำมาทำน้ำสมุนไพรดื่มได้อีกด้วยนะคะ เพียงนำใบรางจืดสัก 5-7 ใบ มาต้มกับน้ำ 1,500 ซีซี จนเดือด แล้วต้มต่อด้วยไฟอ่อนๆอีก 10 นาที เทใส่แก้วรับประทานอุ่นหรือใส่น้ำแข็งก็ได้ ควรดื่มครั้งละไม่เกิน 250 ซีซี วันละไม่เกิน 4-5 ครั้ง หากใครอยากจะแต่งกลิ่นก็สามารถใส่ใบเตยลงไปได้ และสามารถปรุงรสด้วยน้ำตาลทรายได้ตามชอบเลยคะ

ว่านรางจืด สามารถหาซื้อได้ง่าย ทั้งในรูปแบบแคปซูล และชาชง แต่อย่าลืมนะคะ ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ

ข้อมูลอ้างอิง

รางจืดกินอย่างไรให้ปลอดภัย: goodlifeupdate.com
คู่มือสมุนไพรล้างพิษสำหรับประชาชน: ptmk.dtam.moph.go.th
รางจืด: medthai.com

Previous articleการหาค่า ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)
Next articleการกินอาหารแบบ คีโตเจนิค ไม่ต้องกลัวไขมัน