รักษาตาปลา ด้วยวิธีง่ายๆ เป็นแล้วรักษาหายได้

1492

ตาปลาเกิดจากการเสียดสีหรือกดทับของผิวหนังเป็นเวลานาน ทำให้มีการกระตุ้นผิวหนังกำพร้าบริเวณนั้นๆให้สร้างชั้นผิวหนังซึ่งเป็นผิวหนังชั้นบนสุดของผิวหนังชั้นนอก (Epidermis)มากขึ้นกว่าปกติ และเกิดการเว้าตัวลงไปทำให้ผิวหนังลอดตัวออกในชั้นเคราติน ไปสะสมกันแน่นจนเบียดเส้นประสาทที่อยู่ในชั้นผิวหนังแท้ จนทำให้มีอาการเจ็บ มักพบบริเวณฝ่าเท้า ส้นเท้า หลังนิ้วเท้า นิ้วมือ ฝ่ามือ และบริเวณที่ได้รับการเสียดสีบ่อยๆ เรามักพบว่าตาปลาเกิดขึ้นบริเวณฝ่าเท้ามากที่สุด เนื่องจากฝ่าเท้าเป็นส่วนที่รับน้ำหนักตัวเราอยู่ตลอดเวลา ต้องเสียดสีกับพื้น ทั้งพื้นดิน พื้นไม้ พื้นปูน รวมถึงพื้นร้องเท้า เราจะพบว่าตาปลาที่ฝ่าเท้าจะเกิดได้บ่อยยิ่งขึ้นเมื่อใส่รองเท้าคับเกินไป หรือตาปลาอาจเกิดจากาความผิดปกติของร่างกาย เช่น มีรูปเท้าผิดปกติ ทำให้เท้าถูกกดทับมาก มีกระดูกปูดนูนออกมา หรือเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการดูแล รักษาตาปลา กันคะ

รักษาตาปลา

ตาปลาที่ขึ้นตามง่ามนิ้วเท้า เราจะเรียกว่า “ตาปลาชนิดอ่อน” ส่วนตาปลาที่ขึ้นบริเวณฝ่าเท้า ส้นเท้า ฝ่ามือ หรือบรเวิณที่เสีอดสีเราเรียกว่า “ตาปลาชนิดแข็ง” ตาปลาทั้งสองชนิดจะมีจุดกดแข็งอยู่ตางกลาง ที่เรียกว่า “คอร์น” (corns)เหมือนกัน

วิธีการรักษาตาปลามีอะไรบ้าง

ตาปลาไม่ใช่โรคติดต่อ สามารถรักษาให้หายได้แน่นอน ซึ่งการรักษาก็มีอยู่ 2 วิธีที่ใช้รักษากันอยู่ในปัจจุบันนี้คะ

1.รักษาด้วยยาทาหรือแผ่นแปะ สำหรับคนที่เป็นตาปลาไม่มากนัก สามารถหาซื้อยาแก้ตาปลามาทาได้ มีวางจำหน่ายทั่วไป มีลักษณะเป็นแผ่นแปะ มีตัวยาที่สำคัญคือ กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid)ในความเข้มข้น 40 % นำมาทาบริเวณที่เป็นตาปลา กรดชนิดนี้จะทำให้ผิวหนังชั้นหนังกำพร้าที่เป็นตาปลานั้นนุ่มลงและหลุดออกได้ง่าย อาจใช้เวลานานพอสมควร

เทคนิคสำหรับการใช้ยาทาแก้ตาปลานั้น ควรแช่เท้าหรือบริเวณที่เป็นตาปลาในน้ำอุ่นสัก 15-20 นาทีเพื่อให้ผิวนุ่มลง ถูตาปลาเบาเพื่อเอาหนังชั้นนอกของตาปลาออก แล้วใช้วาสลินหรือน้ำมันมะกอกทาบริเวณรอบตาปลาเพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสตัวยา อาจทำให้ระคายเคืองได้ แล้วจึงทายา ทิ้งไว้ 5 นาที ทายาวันละ 1-2 ครั้ง จนกว่าตาปลาจะหลุด ซึ่งกินเวลานานประมาณ 2 สัปดาห์

เนื่องจากยาทาหรือแผ่นแปะรักษาตาปลานั้นมีตัวยาสำคัญคือกรดซาลิไซลิกมีฤทธิ์ลอกผิวหนัง หากถูกหรือโดนบริเวณที่ไม่ได้เป็นตาปลา จะทำให้มีอาการแสบ ร้อน และแดงได้ กรณีที่ยาถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายในคนที่แพ้ยาแอสไพรินหรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์จะทำให้เกิดอาการของการแพ้ยารักษาตาปลาได้ เช่น ปากและริมฝีปากบวม หายใจลำบาก ผื่นคัน แต่ในบางคนก็สามารถแพ้ยารักษาตาปลาได้ถึงแม้จะทาหรือติดแผ่นยาบริเวณที่เป็นตาปลาก็ตาม

2.การจี้ด้วยเลเซอร์หรือผ่าตัด สำหรับคนที่เป็นตาปลามากๆ สามารถรับการยิ่งเลเซอร์หรือผ่าตัดเอาตาปลาออก ซึ่งวิธีรักษานี้จะรักษาได้เร็วกว่าการทายา แต่อาจทำเกิดแผลเป็นและมีค่าใช้จ่ายสูง

วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการป้องกันไม่ให้เป็นตาปลานั้นทำได้ไม่อยาก เพียงแค่คุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น หากเกิดตาปลาบริเวณนิ้วมือเนื่องจากการจับปากกาหรือดินสอที่แน่นจนเกินไปเป็นประจำทุกวันนานๆ แม้รักษาตาปลาหายแล้วก็จะกลับมาเป็นซ้ำอีกเช่นเคยเพราะผิวหนังถูกเสียดสีอยู่ตลอดเวลานั้นเองคะ รวมทั้งการเลือกใส่รองเท้า เนื่องจากตาปลามักเกิดบริเวณฝ่าเท้ามากที่สุด การเลือกใส่รองเท้าที่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป ร้องเท้าส้นไม่สูงมาก พื้นรองเท้านิ่มไม่แข็ง รองเท้าสามารถกระจายน้ำหนักตัวได้ทั่วฝ่าเท้า จะสามารถช่วยลดการเกิดตาปลาได้ และอาจใส่ถุงเท้าเพื่อลดการเสียดสีระหว่างเท้ากับรองเท้า

ตาปลาเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงและไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานหากไม่รีบทำการรักษาตาปลาจะทำให้เกิดการอักเสบที่รุนแรงกว่าคนทั่วๆไปคะ ควรนี้จะเรื่องเล็กจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้คะ

ข้อมูลของรักษาตาปลาที่น่าสนใจอื่นๆ
ตาปลารักษาด้วยยา : healthtoday.net
ตาปลามีสามเหตุมาจากอะไร แล้วระดูแลรักษาตาปลาให้หายอย่างไร : healthmeplease.com
ตาปลา : haamor.com

Previous articleเต้าฮวยฟรุตสลัด เรามีสูตรเด็ดเคล็ดลับมาแนะนำให้ลองทำกันคะ
Next articleริดสีดวง เกิดจากอะไร รักษาอย่างไรให้หายขาด