สมุนไพรลดความดัน มีอะไรบ้าง

464

ความดันโลหิตเป็นแรงดันให้เลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่างๆของร่างกาย ความดันก็จะเพิ่มในขณะที่หัวใจบีบตัว และในขณะที่หัวใจคลายตัวความดันโลหิตของเราก็จะลดลง ความดันโลหิตต้องไม่เกิน 140/90 หากสูงกว่านี้หมายความว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง

สมุนไพรลดความดัน

การรักษาโรคความดันโลหิตสูงนอกจากจะใช้ยาแผนปัจจุบันแล้วเรายังมีการนำสมุนไพรมาใช้ในเรื่องลดความดันโลหิตได้อีกด้วย นอกจากจะมีราคาไม่แพงแล้วยังมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง เรามาดูกันนะคะว่ามีสมุนไพรใดบ้างที่สามารถจะช่วยลดความดันโลหิตสูงได้

สมุนไพรลดความดัน มีอะไรบ้าง

1. ทองพันชั่ง โดยการนำใบที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไปมาตากแดดให้แห้ง แล้วนำมาใช้ประมาณ 20 ใบผสมกับชาจีน 1 หยิบมือนำไปชงในน้ำร้อนแช่ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที นำมารับประทานวันละ 3 ครั้งก่อนอาหาร เช้า กลางวัน และเย็น ติดต่อกัน 5-7 วัน แต่หากรับประทานไปแล้วความดันโลหิตยังสูงอยู่ก็สามารถรับประทานต่อได้อีก 5-7 วันจนกว่าความดันจะลดลงเป็นปกติ

2. กระเทียม เราสามารถใช้กระเทียมสดเป็นยาเพื่อรักษาความดันโรคความดันโลหิตสูงได้ โดยการนำกระเทียมสดมาซอยประมาณครึ่งช้อนชารับประทานพร้อมอาหารวันละ 2-3 ครั้ง หรืออาจจะรับประทานสดๆเลยก็ได้ เนื่องจากกระเทียมมีฤทธิ์ร้อนจึงไม่แนะนำให้รับประทานในตอนท้องว่างเพราะจะทำให้เกิดการคายเคืองกระเพาะอาหารได้

3. ขึ้นฉ่าย นำต้นขึ้นฉ่ายสดๆมาตำให้ละเอียด คั้นเอาเฉพาะน้ำ หรือใช้ต้นสด 1-2 กำมือตำให้ละเอียดต้มกับน้ำแล้วกรองเอากากออก นำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหาร หรือกินเป็นผักสดผสมในอาหารก็ได้

4. กาฝากมะม่วง เป็นพืชเบียน โดยนำกาฝากมะม่วงมาตากแห้งต้มน้ำดื่มเสมือนน้ำชา หรือตากแห้งแล้วนำมาคั่วชงดื่ม วิธีการต้มคือนำกาฝากแห้งต้มใส่หม้อน้ำเดือดแล้วเคี่ยวจนกว่าน้ำของกาฝากจะออกมาเป็นสีน้ำตาลอ่อนจึงจะใช้ได้ ใช้ดื่มแทนน้ำได้ตลอดทั้งวัน

5. กระเจี๊ยบแดง นำกลีบเลี้ยงของดอกกระเจี๊ยบแดงเป็นสมุนไพรที่ใช้ช่วยลดความดันโลหิตสูงได้ เพียงนำกลีบเลี้ยงที่แห้งแล้วต้มน้ำชงกับน้ำดื่มเป็นชากระเจี๊ยบ

6. ใบบัวบก เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็กมีกลิ่นฉุนมีรสขมหวาน ชอบที่ชื้นแฉะ ใบบัวบกโสดประมาณ 1-2 กำมือต้มกับน้ำ ดื่มเป็นประจำได้ทั้งวัน สามารถลดอาการความดันโลหิตได้

7. หญ้าหนวดแมว โดยนำใบหญ้าหนวดแมวไปตากแห้ง หลังจากนั้นนำมาชงกับน้ำดื่มเป็นชาหญ้าหนวดแมว ดื่มประจำจนกว่าอาการความดันจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีโปแตสเซียมสูง ดังนั้นจึงไม่ควรใช้คู่กับยาแอสไพริน หรือใช้ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจเพราะอาจเกิดอันตรายได้หากไม่มั่นใจควรปรึกษาแพทย์ก่อนการดื่มชาหญ้าหนวดแมว

อย่างไรก็ตามการรับประทานสมุนไพรเป็นการแก้ที่ปลายเหตุ ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงควรจะเลือกรับประทานอาหารที่มีรสจืด มีเกลือโซเดียมน้อย การลดปริมาณเกลือจาก 10 กรัม เหลือ 5 กรัมต่อวัน สามารถลดความดันโลหิตได้ถึง 10/5 มิลลิเมตรปรอท พยามหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารเค็ม อาหารตากแห้ง หรืออาหารที่มีเกลือสูง อย่างเช่น กะปิ น้ำปลา ซีอิ๊ว เลี่ยงผงชูรส เป็นต้น

นอกจากนี้ควรจะหมั่นออกกำลังกาย ควรเน้นการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อมัดใหญ่ๆอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาช่วงหนึ่งเป็นการออกกำลังกายโดยใช้ออกซิเจน เป็นหนึ่งในการใช้พลังงาน เช่น การวิ่ง การว่ายน้ำ การเดินเร็ว ต่างก็ออกกำลังกายแบบไม่ใช่แอโรบิคเช่น การยกน้ำหนัก จะทำให้เป็นการเพิ่มความดันโลหิตได้ รวมทั้งควรผ่อนคลาย ลดความเครียด งดการดื่มสุรา สูบบุหรี่ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดความดันโลหิตสูง

ข้อมูลอ้างอิง

สมุนไพรพื้นบ้านช่วยลดความดันโลหิตสูงได้อย่างไร: pharmacy.eau.ac.th
กระเทียมกับประโยชน์ต่อสุขภาพ: pobpad.com
ขึ้นฉ่าย: vegetweb.com

Previous articleประโยชน์ของ เบกกิ้งโซดา มีอะไรบ้าง
Next articleการเลือก นาฬิกาข้อมือ ให้เข้ากับสไตล์คุณผู้ชาย