โรคพาร์กินสัน สามารถแบ่งอาการของโรคได้

1806

โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s Disease) หรือโรคสันนิบาตหรือโรคสั่นสันนิบาตหรือคนไทยสมัยโบราณเรียกว่าโรคสันนิบาตลูกนก เป็นโรคทางสมองที่เกิดจากเซลล์สมองในบางตำแหน่งเกิดการตายโดยไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด จึงทำให้สื่อสารประสาทในสมองที่ชื่อว่า โดพามีน (Dopamine) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายตายและลดจำนวนลงทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการสั่น แขนขาเกร็ง เคลื่อนไหวร่างกายช้าและสูญเสียการทรงตัว อาการเหล่านี้จะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปและรุนแรงขึ้นเรื่อยๆอย่างช้าๆ ปัจจุบันโรคพาร์กินสันนี้สามารถรักษาให้หายขาดได้หากได้รับการวินิจฉัยและการดูแลตั้งแต่แรกเริ่ม

โรคพาร์กินสัน

โรคพาร์กินสัน สามารถแบ่งอาการของโรคได้ดังนี้

1. อาการเกี่ยวกับระบบประสาทสั่งการ 60-70 เปอร์เซ้นต์ จะมีอากรสั่นเป็นอาการแรกเริ่มของโรค ส่วนใหญ่เกิดสั่นที่นิ้วมือก่อนลักษณะที่เรียกว่า Pill-Rolling คือเหมือนผู้ป่วยกำลังปั้นยาลูกกลอนอยู่ แล้วจึงตามด้วยข้อมือแขน ในเบื้องต้นจะสั่นเพียงข้างเดียวก่อนและพัฒนามาเป็น 2 ข้างและในที่สุดเกิดอาการทั่วร่างกาย รวมทั้งบริเวณคาง ริมฝีปาก ซึ่งลักษณะอาการสั่นนี้จะมีลักษณะเฉพาะคือจะมีอาการสั่นมากเวลาที่อยู่นิ่งๆ 40 – 8 ครั้งต่อวินาทีและเมื่อเกิดความเครียดอาการสั่นก็จะแรงขึ้นแต่ความถี่ยังคงเดิม แต่เวลานอนหลับเคลื่อนไหวหรือใช้มือทำอะไรอาการสั่นจะหายไปหรือสั่นน้อยลง

2. อาการที่ร่างกายมีสภาพแข็งเกร็ง ผู้ป่วยจะมีอาการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อแขน ขาและลำตัว เมื่อเราจับแขนหรือขาของผู้ป่วยโยกหากันจะรู้สึกเหมือนมีแรงต้านหรือสะดุดเป็นจังหวะคล้ายการเคลื่อนของฟันเฟือง อาการนี้จะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดเมื่อยจนบางรายจำเป็นต้องกินยาบรรเทาอาการปวดเมื่อย หรือไปหาหมอนวดเพื่อบีบนวด

3. อาการเคลื่อนไหวร่างกายช้าลง การเคลื่อนไหวจะเกิดน้อยลงและช้าลงทำให้ผู้ป่วยรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรช้าลงมากกว่าเดิม เช่น การเคลื่อนไหวของใบหน้าผู้ป่วยจะมีใบหน้าเฉยเมย ไม่มีอารมณ์ ไม่ยิ้ม ไม่หัวเราะ เวลาพูดมุมปากจะขยับเพียงเล็กน้อยตตาไม่กระพริบหรือกระพริบน้อย ไม่สามารถกรอกลูกตาไปมาได้ มีอาการพูดเสียงฟังไม่ชัด น้ำเสียงจะเป็นลักษณะโมโนโทนไม่มีเสียงสูงหรือต่ำ การเคลื่อนไหวของลำตัวและแขนขาช้าลง

4. อาการทรงตัวขาดสมดุล หรือการสูญเสียการทรงตัว ส่วนใหญ่จะพบอาการนี้เมื่อเป็นโรคพาร์กินสันมานานแล้ว ผู้ป่วยจะมีลักษณะการยืนเอนตัวไปด้านหน้าทำให้การทรงตัวไม่ดี ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย และทำให้กระดูกต้นแขนและขาหักโดยเฉพาะในเวลาเดินจําเป็นต้องใช้ไม้เท้าหรือมีคนคอยช่วยพยุง

นอกจากนี้ผู้ป่วยที่เป็นโรคพาร์กินสันจะมีอาการทางจิตประสาทร่วมด้วยเช่นมีลักษณะซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่มีความสุข รู้สึกกระวนกระวาย บางคนเห็นภาพหลอนหรือหลงผิดมีความจำระยะสั้นไม่ค่อยดี ความจำเสื่อม ซึ่งแตกต่างจากโรคอัลไซเมอร์ที่ผู้ป่วยจะมีอาการหลงลืมมาตั้งแต่ต้นการเป็นโรค

โรคพาร์กินสัน สามารถรักษาให้หายได้โดยผู้โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านประสาทวิทยาส่วนมากจะรักษาด้วย ยา กายภาพบำบัด และการผ่าตัด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์

อย่างไรก็ตามการเกิดโรคพาร์คินสันยังไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่ชัดได้แพทย์จึงแนะนำให้รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมและจำกัดอาหารผลิตภัณฑ์จากนม กลุ่มไขมัน เนื้อแดง เนื้อของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมรวมถึงการรับประทานผักผลไม้และธัญพืชให้มากๆ เนื่องจากมีสารต้านอนุมูลอิสระสูงอาจช่วยลดโอกาสในการเกิดหรือลดความรุนแรงจะอาการของโรคพาร์คินสันลงได้คะ

ข้อมูลอ้างอิง

โรคพาร์กินสันอาการสาเหตุและการรักษาโรคพาร์กินสัน 5 วิธี: medthai.com
โรคพาร์กินสัน: bumrungrad.com
โรคพาร์กินสัน: phyathai.com

Previous articleโรคคาวาซากิ อาการและการรักษาโรค
Next articleชวนเที่ยว ‘เกิ่นเทอ’ ตลาดน้ำปากแม่น้ำโขงเวียดนามเดินทางง่ายด้วย Vietjet