พระเครื่อง .. ประวัติความเป็นมาและเกร็ดความรู้เบื้องต้น

763

พระเครื่องหรือพระพิมพ์ ได้รับความนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 ประชาชนจะนำพระแขวนคอ หรือพกติดตัวตลอดเวลา คำว่าพระเครื่องนั้นเกิดจากที่ในสมัยที่ประเทศไทยนำเครื่องจักรเข้ามาผลิตเหรียญกษาปณ์ต่างๆ แล้วก็ได้มีการผลิตเหรียญของพระเกจิอาจารย์ขึ้น จึงทำให้เรียกเหรียญที่ทำเป็นรูปเกจิอาจารย์ต่างๆที่ผลิตจากเครื่องจักรว่า “พระเครื่อง

พระเครื่องพระเครื่อง
รูปภาพจาก men.mthai.com/aluremag/style/111110.html

พระเครื่องที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็จากเหตุผลที่แตกต่างกันไปเช่น

– สร้างเพื่อเป็นที่ระลึก อย่างเช่นสร้างไว้สำหรับแจกหรือให้ประชาชนเช่าบูชาเมื่อได้ร่วมทำบุญในโอกาสต่างๆ เช่น สร้างโบสถ์ สร้างวิหาร เป็นต้น และยังสร้างขึ้นเพื่อจากให้กับบุคคลที่ร่วมทำบุญที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับศาสนกิจอีกด้วย เช่น ร่วมบริจาคช่วยผู้ประสบภัยจากน้ำท่วม เพื่อให้ผู้บริจาคได้จับต้องและระลึกถึงผลบุญที่ได้ทำไป

– สร้างเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ เช่น ตำรวจ และทหารที่ต้องปฏิบัติหน้าที่เสี่ยงภัย จึงสร้างพระเครื่องแจกเพื่อเสริมกำลังใจให้กับผู้ปฎิบัติงาน

– สร้างเพื่อสืบทอดพระพุทธศาสนา ซึ่งคนสมัยก่อนมักนำพระเครื่องที่สร้างขึ้นบรรจุลงในเจดีย์หรือใต้หลังคาอุโบสถ เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์เกิดแตกร้าว หลังคาพระอุโบสถชำรุดจำเป็นต้องซ่อมแซม จึงทำให้ได้พบพระเครื่องเหล่านี้ จึงนำไปศึกษาค้นคว้า จึงเท่ากับเป็นการเผยแผ่พระศาสนาทางอ้อม

เราสามารถแบ่งพระเครื่องได้จากวัตถุดิบในการจัดสร้างพระเครื่อง ได้แก่

1.พระเนื้อดิน เป็นการสร้างที่เก่าแก่ที่สุด โดยนำดินมาสร้าง อาศัยหลักความเชื่อที่ว่าดินคือเทพเจ้าที่ทรงคุณอนนัต์ในนามของพระแม่ธรณี ดินที่นำมาสร้างพระจะนำมาจากศาสนสถานที่ศักสิทธิ์และสถานที่เป็นมงคล นำดินที่ได้กดลงในแม่พิมพ์แล้วถอดออก นำมาทำให้แห้งด้วย 2 วิธี คือ 1.) เผา จะทำให้ดินมีสีแบบสีหม้อใหม่หรือสีดินสุก และ 2.) ตากแดด เราจะเรียกพระเครื่องประเภทนี้ว่า “พระดินดิบ” จะมีความทดทานน้อยกว่าวิธีการเผาและหากโดนน้ำก็จะย่อยแตกออก

2.พระเนื้อชิน เป็นพระเครื่องเนื้อโลหะที่เกิดจากการผสมระหว่างดีบุก กับ ตะกั่ว เกิดเป็นโลหะที่เรียกว่า “เนื้อชิน” โลหะทั้งสองมีจุดหลอมเหลวที่ไม่สูงนัก หาง่าย และมีความอ่อนนิ่มจึงทำให้เข้าถึงแม่พิมพ์ได้ทุกซอกมุม ผลงานที่ออกมาจึงสวย งดงาม ทนทานต่อการผุกร่อนได้เป็นอย่างดี และมีความนำไฟฟ้าต่ำจึงปลอดภัยเมื่อพกพาติดตัว ในสมัยก่อนผู้ที่จะจัดสร้างพระเนื้อชินได้มักเป็นผู้มีตำแหน่ง เป็นเจ้านายระดับสูง พระเนื้อชินจึงถือได้ว่าเป้นพระเครื่องชั้นสูงมาตั้งแต่โบราณ และพระเครื่องเนื้อชินมักถูกขุดพบตามโบราณสถานสำคัญจึงเป็นเรื่องยากที่สามัญชนจะเป็นผู้สร้างขึ้น

3.พระเนื้อผง มวลสารที่นำมาผสมกัน เช่น ยางไม้ กาวหนัง น้ำอ้อย ขี้ผึ้งชั้นดี และผงปูน (เกิดจากการนำเปลือกหอยมาเผาไฟแล้วบดให้ละเอียด) ซึ่งเป็นตัวหลักในการประสานสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังใช้กล้วยน้ำหว้าและน้ำมันตังอิ๊วซึ่งยางไม้ชนิดหนึ่งที่ผสมกับน้ำมันเพื่อให้เกิดความเหนี่ยว นำมาเป็นตัวช่วยประสารในการผลิตพระเครื่องเนื้อผงอีกด้วย

ในการสร้งพระเครื่องแต่ละครั้งมักจะนิมนต์พระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงหรือเป็นที่ศรัทธาอย่างยิ่งของประชาชน ในการสร้างพระเครื่องแต่ละขั้นตอนจะต้องมีพิธีบรวงสรวงสิ่งศักสิทธิ์ตั้งแต่ การหาวัตถุดิบในการสร้างพระเครื่อง การปั้นหรือหล่อพระเครื่อง การทำให้แห้ง และหลังจากที่สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ยังจะนำมาเข้าพิธีปลุกเสกอีกครั้ง พระเครื่องจึงมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นอย่างยิ่ง

อาจจะกล่าวได้ว่าพระเครื่องนั้นเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ผู้คนประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม อีกทั้งยังให้ความสบายใจแก่ผู้พกพาอีกด้วยคะ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อและความศรัทธา แต่อย่าให้ถึงขั้นงมงายนะคะ

ข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวกับพระเครื่อง
ความรู้เกี่ยวกับพระเครื่อง : zoonphra.com
พระเครื่องคืออะไร ทำไมต้องมีพระเครื่อง : prayotniyom.com

Previous articleเครื่องเป่าแอลกอฮอล์ .. ที่ตำรวจใช้ทำงานอย่างไร รู้ไว้ก่อนเจอวัดระดับ
Next articleเครื่องหนีบผม .. แนะนำวิธีใช้แบบช่างผมมืออาชีพ