ธาลัสซีเมีย คืออะไร เกิดจากสาเหตุอะไร

16517

ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คือ สภาวะที่การสร้างฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงไม่สามารถสร้างได้โดยสมบูรณ์ หรือสร้างให้น้อย จนทำให้ออกซิเจนที่ต้องเข้าไปหล่อเลี้ยงร่างกายลดลง ฮีโมโกลบินมีหน้าที่ในการนำออกซิเจนมาเลี้ยงร่างกายส่งผลให้เกิดการอ่อนเพลียและเหนื่อยง่ายกว่าคนปกติ ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่จะมีลักษณะตัวเล็ก ผอม เหลืองตัวซีด ดูไม่ค่อยเจริญเติบโต กระดูกใบหน้ามีลักษณะที่โหนกแก้ม หน้าผากสูง ดั้งจมูกแบน ฟันบนยื่น

ธาลัสซีเมีย

เชื้อธารัสซีเมียแฝงอยู่ในยีนโดยไม่รู้ตัว ผู้ที่เป็นพาหะจะมียีนส์หนึ่งที่ปกติ และมียีนส์หนึ่งที่ผิดปกติ โดยยีนส์ที่ปกติจะทำหน้าที่แทนยีนที่ผิดปกติ ฉะนั้นผู้ที่มีเชื้อธาลัสซีเมียจะมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนทั่วไป แต่อาจมีภาวะของโรคเลือดจางเล็กน้อย ยีนส์ผิดปกตินี้ส่วนใหญ่รับมาจากรุ่นพ่อและแม่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้เมื่อจับคู่กับคนที่พาหะจะการส่งผลให้ลูกมีสิทธิ์เป็นโรคธาลัสซีเมียได้ถึงร้อยละ 25 เปอร์เซ็นต์

ธาลัสซีเมีย มีวิธีการตรวจเลือดซึ่งมีด้วยกัน 3 วิธี

โดยการเจาะเลือดปริมาณ โดยผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องงดน้ำ งดอาหารก่อนเจาะเลือด

1. การตรวจคัดกรอง (screening Test) เป็นวิธีที่นิยมใช้ในโรงพยาบาลทั่วไปมีค่าใช้จ่ายน้อยสามารถทราบผลได้ไว แต่ไม่สามารถแยกได้ว่าเป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดใด ถ้าผู้ได้รับการตรวจคัดกรองมีผลบวกก็ต้องตรวจยืนยันในการตรวจหาฮีโมโกลบินเพื่อหาว่าเป็นพาหะของธาลัสซีเมียชนิดใด

2. การตรวจชนิดของฮีโมโกลบิน (hemoglobin typing) เป็นการตรวจเพื่อหาชนิดของฮีโมโกลบินสามารถทำได้ในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ สามารถแยกได้ว่าเป็นธาลัสซีเมียชนิดใดแต่มีข้อจำกัดในบางรายที่มียีนธาลัสซีเมีย 2 ชนิดแฝงอยู่

3. การตรวจดีเอ็นเอ (DNA analysis) เป็นการตรวจเลือดที่ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ที่มีเครื่องมือและแพทย์ผู้มีความชำนาญในการตรวจดีเอ็นเอ เป็นวิธีที่แม่นยำที่สุดและดีที่สุด แต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียมักจะมีการเจริญเติบโตของร่างกายน้อยกว่าปกติ มีภูมิคุ้มกันต่ำ มีความหนาแน่นของมวลกระดูกน้อยกว่า ดังนั้นควรรับประทานอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยคือ ควรรับประทานอาหารประเภทที่มีโปรตีนสูง เช่นเนื้อสัตว์ต่างๆ เนื้อปลาทะเลธัญพืชต่างๆ เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวกล้อง ข้าวบาร์เลย์  ไข่นม อาหารที่มีโฟลิกอยู่สูง เช่น ผักต่างๆ ผลไม้ซึ่งอาหารเหล่านี้จะช่วยสร้างเม็ดเลือด อาหารที่มีแคลเซียม แมกนีเซียม และวิตามินดีสูง เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุน เช่นผลิตภัณฑ์นม ใบย่านาง ใบชะพลู ใบแค ใบยอ ผักโขม  สาระแน ฟักทอง ผลไม้ต่างๆ ได้แก่ ส้มเขียวหวาน มะขามหวานมะม่วง  อาหารที่มีวิตามินเอ วิตามินอี และวิตามินซีเพื่อลดภาวะการเกิดอนุมูลอิสระในร่างกายจากการที่เม็ดเลือดแดงแตกง่าย เช่น มะละกอ ฟักทอง เสาวรส ฝรั่ง มะยม ผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่ลดการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น ชา กาแฟ ผลิตภัณฑ์ที่มีคาเฟอีน นมและผลิตภัณฑ์จากนม น้ำเต้าหู้ เป็นต้น

ส่วนอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่มีอาการของโรครุนแรงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น หอยชนิดต่างๆสัตว์ที่มีเนื้อแดง ผลิตภัณฑ์จากเลือด เครื่องในสัตว์ เมล็ดฟักทอง งาขาว งาดำ ดาร์กช็อกโกแลต โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ ซึ่งร่างกายสามารถดูดซึมธาตุเหล็กจะอาหารดังกล่าวได้ดีกว่าธาตุเหล็กที่พบในพืชต่างๆ และไม่ควรรับประทานพืชที่มีธาตุเหล็กสูงร่วมกับอาหารที่เพิ่มการดูดซึมธาตุเหล็กจากพืชต่างๆ ได้แก่ อาหารที่มีวิตามินซีสูง เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม มะเขือเทศ ส้ม เนื้อสัตว์ แอลกอฮอล์ ตัวอย่างรายการอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเช่นขนมจีนน้ำเงี้ยวใส่เลือดหมูและดอกงิ้วหรือว่าแดดเดียวหมูหยองก๋วยเตี๋ยวน้ำตกออส่วนหอยนางรมน้ำพริกกุ้งเสียบแกงหอยโข่งส้มตำไทยใส่กุ้งแห้ง

โรคธาลัสซีเมียเป็นโรคทางพันธุกรรม เพื่อเป็นการป้องกันและลดจำนวนผู้ป่วย จึงควรตรวจเลือดก่อนมีบุตร จะดีที่สุดคะ

ข้อมูลอ้างอิง

เมื่อเราสองจะสร้างครอบครัวตรวจหาธาลัสซีเมียสักทีดีไหม : si.mahidol.ac.th
อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย: foodforhealthguide.blogspot.com
ธาลัสซีเมียกินอย่างไรให้เหมาะสม: pharmacy.mahidol.ac.th

Previous articleสิทธิประโยชน์ของ ประกันสังคม
Next articleโรคคาวาซากิ อาการและการรักษาโรค