การหาค่า ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index)

1890

สุขภาพที่ดีเป็นสิ่งที่ทุกคนปราถนา ปัจจุบันคนจึงหันมาใส่ใจกับตัวเองมากขึ้น ให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหาร และการออกกำลังกาย หากคุณเป็นคนหนึ่งที่รักสุขภาพคงจะเคยได้ยินคำว่า “ ดัชนีมวลกาย ” ซึ่งเป็นค่าเบื้องต้นที่บ่งบอกได้ว่าคุณปริมาณไขมันในร่างกายมากน้อยเพียงใด

ดัชนีมวลกาย

ดัชนีมวลกายหรือบีเอ็มไอ (BMI: Body Mass Index) คือค่าที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เมตร) ค่าดัชนีมวลกายจะเท่ากับน้ำหนักหารด้วยส่วนสูงยกกำลังสอง

ดัชนีมวลกาย = น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)/(ความสูง (เมตร))2

ยกตัวอย่าง เช่น คุณมีน้ำหนักตัว 65 กิโลกรัม สูง 1.65 เมตร จะมีดัชนีมวลกายคือ 65/(1.65)2  23.875 เป็นต้น

สำหรับการวัดค่าดัชนีมวลกายในเด็ก คือผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี อาจจะต้องช่าเปอร์เซ็นตืไทล์ร่วมด้วย เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำมากที่สุด

ดัชนีมวลกายเป็นค่าที่แสดงให้เราทราบว่า เราอ้วน/ค่าเกินเกณฑ์หรือผอม/มีค่าต่ำกว่าเกณฑ์  สำหรับค่าดัชนีมวลกายของชาวเอเซียอย่างเรานั้นอยู่ที่ 18.5-22.9 ส่วนคนยุโรปค่าอยู่ที่ 18.5-24.9 คะ

ค่าดัชนีมวลกายที่คำนวณออกมาได้ สามารถนำมาระบุได้ว่าเป็นผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนหรือไม่ โดยดูจากค่าดังนี้

  • น้ำหนักน้อย ค่าดัชนีมวลกาย ต่ำกว่า 18.5
  • น้ำหนักปกติ ค่าดัชนีมวลกาย อยู่ที่ 18.5-24.9
  • น้ำหนักเกิน ค่าดัชนีมวลกาย อยู่ที่ 25-29.9
  • น้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วน ค่าดัชนีมวลกาย อยู่ที่ 30 ขึ้นไป
  • น้ำหนักเกิน เป็นโรคอ้วนรักายาก ค่าดัชนีมวลกาย อยู่ที่ 40 ขึ้นไป

การคำนวณดัชนีมวลกายของเด็กด็ก (อายุตั้งแต่ 2-19 ปี ) และผู้ใหญ่ (อายุ 20 ปีขึ้นไป) จะแตกต่างกัน

เมื่อเราทราบค่าดัชนีมวลกายของตนเองแล้วจะต้องทำอย่างไรต่อไป หากค่าดัชนีมวลกายของคุณยังอยู่ในเกินปกติก็จำเป็นต้องทำการรักษา แต่คุณก็ควรดูแลสุขภาพของตนเองอย่างต่อเนื่อง หากดัชนีมวลกายชี้ว่าคุณเป็นโรคอ้วน ควรทำการรักษา สาเหตุหลักของการเกิดโรคอ้วนกเกิดจากการรับประทานอาหารเกินความต้องการของร่างกาย และขาดการออกกำลังกาย ส่วนสาเหตุอื่นๆ เช่น พันธุกรรม การรับประทานยาบางชนิด การตั้งครรภ์ โรคประจำตัว เป็นต้น

ปัจจุบันโรคอ้วนเป็นปัญหาทางด้านสาธารณะสุขในระดับโลก มีประชากรเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งโรคอ้วนนี้อาจเป็นสาเหตุหรือปัจจัยของการโรคอื่นๆตามมา เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเส้นเลือด โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคนอนหลับแล้วหยุดหายใจ โรคมะเร็ง โรคซึมเศร้า เป็นต้น

จากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์บ่งชี้ว่า โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง พบว่า 90 %ของผู้ป่วยโรคมะเร็งโพรงมดลูก ชนิดที่1 เป็นโรคอ้วน และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกินมีโอกาสเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นซ้ำของโรคมะเร็งมากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติ 2-3 เท่า เป็นต้น เมื่อเรามีน้ำหนักเกิน จะมีระดับอินซูลินและฮอร์โมนที่มีลักษณะเหมือนอินซูลินสูง ซึ่งฮอร์โมนนี้มีคุณสมบัติทำให้เซลล์เจริญเติบโตได้ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง ยิ่งกว่านั้นคนอ้วนจะมักจะเกิดกระบวนการอักเสบอยู่ตลอดเวลา การอักเสบถือเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเช่นกัน

แต่อย่างไรก็ตามค่าดัชนีมวลกายที่คำนวณได้อาจต้องนำมาพิจารณาร่วมกับ เพศ อายุ อาชีพ ชาติพันธุ์ ระดับการเคลื่อนไหวร่างกาย ปริมาณกล้ามเนื้อในร่างกายเป็นต้น อีกครั้งหนึ่ง หรือตัวตรวจค่าอื่นๆเพิ่มเติม เพราะมักพบว่านักกีฬาอาชีพจะมีค่าดัชนีมวลกายที่สูงซึ่งมาจากการเพิ่มของกล้ามเนื้อ ไม่ใช่ไขมัน , ผู้หญิงที่มีดัชนีมวลกายเท่ากับผู้ชายแต่กลับมีปริมาณไขมันในร่างกายมากกว่า เป็นต้น

ค่าดัชนีมวลกายเป็นเพียงค่าเบื้องต้นที่ใช้ประเมินรูปร่างและสุขภาพของแต่ละบุคคลเท่านั้น ไม่สามารถบ่งชี้ชัดลงไปว่าคุณมีสุขภาพดีหรือไม่ดี จึงไม่ควรกังวลหรือเข้มงวดกับตนเองมากจนเกินไปคะ อาจจะทำให้คุณเครียดได้ และส่งผลให้ร่างกายเจ็บป่วยตามมา

ข้อมูลอ้างอิง

อ้วนกับมะเร็ง: thainakarin.co.th
ดัชนีมวลกาย (BMI)คืออะไร: honestdocs.co
โรคอ้วน และ น้ำหนักตัวเกิน: haamor.com
BMI ข้อควรรู้เกี่ยวกับดัชนีมวลกาย: pobpad.com
ดัชนีมวลกาย ดรรชนีมวลกาย (BMI: Body Mass Index): haamor.com

Previous articleอาหารเสริม ฮอร์โมนเพศหญิง มีประโยชน์อย่างไร
Next articleสรรพคุณและประโยชน์ของ ว่านรางจืด