ปวดฟันคุด วิธีทำยังไงให้หายด้วยตัวเอง ไม่ต้องไปหาหมอ

46247

ปวดฟันคุด เกิดจากความผิดปรกติของการงอกของฟัน ที่ไม่สามารถดันตัวให้งอกพ้นเหงือกออกมาได้ อาจเกิดจากไม่มีช่องว่างพอ หรือมีความผิดปรกติของร่งกายบางอย่าง ทำให้ฟันวางตัวไม่เป็นระเบียบ โดยส่วนมากแล้วฟันทุกซี่ในช่องปากอาจเกิดฟันคุดได้ แต่ที่พบได้บ่อยมักเป็นพันกรามซี่ที่3 หรือฟันกรามซี่สุดท้ายด้านล่างนั่นเอง เพราะเป็นฟันที่งอกช้ากว่าฟันซี่อื่นๆในปาก โดยปรกติจะงอกเมื่ออายุ 18 ปีไปแล้ว ชาวต่างประเทศเรียกเจ้าฟันซี่นี้ว่า “wisdom teeth” หรือฟันฉลาด ที่สามารถสร้างปัญหาให้กลับมนุษย์อย่างเราๆได้

ปวดฟันคุด

เมื่อเกิดฟันคุดจะทำให้เกิดการอักเสบบริเวณที่ฟันคุด จนเกิดการติดเชื้อได้ ซึ่งถ้าเชื้อลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองใกล้เคียงอาจทำให้ ใบหน้าผิดรูป มีอาการหนาวสั่น เป็นไข้ อาจมีหนองไหลเยิ้มออกมาได้ หากเกิดฟันคุดแพทย์จะทำการผ่าตัดเอาฟันที่คุดออก เป็นการกำจัดปัญหาอย่างถาวรและเป็นการหยุดปัญหาเหงือกบวม อักเสบ เป็นหนอง ได้เป็นอย่างดีคะ

ปวดฟันคุดว่าทรมานแล้วการปวดฟันเนื่องจากฟันคุดนั้นทรมานกว่าคะ เพราะจะมีอาการปวดบริเวณที่ฟันคุด ปวดเหงือกที่ระบม และยังปวดบริเวณขากรรไกรอีกด้วย โดยฟันคุดอาจจะไปกดทับเส้นประสาทหรือเส้นเลือดข้างใต้ฟัน จึงทำให้เกิดอาการปวดรุนแรง หากไปพบทันตแพทย์ในขณะที่ยังมีอาการปวดอยู่ แพทย์ก็จะไม่ทำการผ่าตัดให้ ต้องรอให้การอักเสบลดลงเสียก่อน

วิธีลดอาการปวดฟันคุด

1. รับประทานยาแก้ปวด เป็นการบรรเทาอาการปวดฟันคุดหรือลดการปวดเท่านั้น หากปวดไม่มากนักให้รับประทานยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัม ครั้งละ 2 เม็ด ห่างกัน 4-6 ชั่วโมง แต่ไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 7 วัน  และหากมีอาการปวดมาก รับประทานยาพาราเซตามอลแล้วไม่ดีขึ้น จำเป็นต้องใช้บรรเทาอาการปวดช่วยลดอักเสบกลุ่มเอ็นเสด (Nonsteroidal anti-inflammatory drug/NSAID) เป็นยาต้านการอักเสบแบบไม่ผสมสเตียรอยด์  ยากลุ่มนี้อาจทำให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น ระคายเคืองกระเพราะอาหาร การทำงานของไต มีข้อจำกัดสำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ป่วยบวมน้ำ ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออก สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร จึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานคะ

2. ลดการกระทบกระเทือนฟันซี่ที่คุด ฟันที่คุดอยู่เมื่อเกิดการอักเสบจะปวดจึงไม่ควรเคี้ยวอาหารในด้านที่ฟันคุด หรือพยายามรับประทานอาหารที่นิ่มๆ เคี้ยวง่ายๆ ใช้แรงบดไม่มาก เพื่อลดกระทบกระเทือนทำให้อักเสบมากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนจัดและเย็นจัดอีกด้วย

3. ลดปวดฟันคุดด้วยประคบเย็น อาจใช้ผ้าชุบน้ำเย็น หรือเจลเย็นมาประคบบริเวณที่ฟันคุด ความเย็นจะช่วยลดการอักเสบได้

4. ใช้สมุนไพรบรรเทาการปวดฟันคุด มีสมุนไพรไทยที่มีสรรพคุณแก้อาการปวดฟันคุดหลายชนิดที่สามารถลดอาการปวด การอักเสบได้ เช่น

  • น้ำมันกานพลู มีฤทธิ์ช่วยระงับการปวด เพียงอมน้ำมันกานพลูไว้ประมาณ 5 นาที คุณจะรู้สึกชาอย่างรวดเร็ว อาการชาจะอยู่ได้ไม่เกิน 1.30 ชั่วโมงเท่านั้น
  • ใบชา มีคุณสมบัติลดการอักเสบและลดอาการเหงือกบวม โดยนำใบชาแห้งไปแช่นน้ำร้อนสัก 20 นาที แล้วน้ำชาอุ่นนั้นมาบ้วนปากบ่อยๆ
  • น้ำมันละหุ่ง นำน้ำมันละหุ่งมาอุ่น แล้วใช้ผ้าชุบน้ำมันประคบบริเวณที่ปวด น้ำมันละหุ่งจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดที่คั่งบริเวณที่เกิดการอักเสบ ช่วยระงับปวดได้ดี
  • เกลือ นำเกลือแกงไปผสมกับน้ำอุ่น ใช้บ้วนปากทุกๆ 1 ชั่วโมง โดยกลั้วปากครั้งละ 1 นาที

หากท่านใดมีอาการ “ปวดฟันคุด” เนื่องจากฟันคุดก็ลองนำวิธีที่แนะนำไปใช้กันดูนะคะ และถ้าหายปวดแล้วก็รีบไปพบแพทย์ทำการผ่าเอาออกทันที อย่าละเลยให้เกิดอาการอีกครั้ง ก่อนจากกันฝากวิดีโอสั้นๆ เป็นวิธีแก้ปวดฟันแบบเร่งด่วน เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมด้วย …

ปวดฟันทำไง มีวิธีหายภายใน 5นาที ด้วยตัวเอง

ข้อมูลอ้างอิง

ฟันคุด: doctor.or.th
5 วิธีลดอาการปวดฟันเบื้องต้น: health.haijai.com
แชร์เก็บไว้เลย 10 สมุนไพรแก้ปวดฟัน: fangnapost.com
ปวดฟัน จำเป็นต้องใช้แต่ ibuprofen รึป่าวคะ? pantip.com

Previous articleสินเชื่อรถแลกเงิน..รู้ไว้ก่อนทำเรื่องขอสินเชื่อ
Next articleดินสอเขียนคิ้ว..สีไหนเข้ากับสีผิวคุณ