อาการไอ ไอไม่หยุด ไอเรื้อรัง วิธีการรักษาการใช้ยาแก้ไอ

20395

อาการไอ เป็นกลไกตอบสนองของร่างกายอย่างหนึ่งต่อสิ่งผิดปกติในทางเดินหายใจและเป็นกลไกป้องกันที่สำคัญในการกำจัดเชื้อโรค เสมหะหรือสิ่งแปลกปลอมในทางเดินหายใจ อีกทั้งเป็นอาการที่นำผู้ป่วยมาพบได้บ่อยที่สุด และไอยังเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคได้อย่างเร็วรวดและกว้างขวางด้วยคะ

อาการไอ

เรามีอาการไอเนื่องจากมีสิ่งมากระตุ้นตัวรับสัญญาณการไอหรือมีสารระคายเคืองในบริเวรณทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง ได้แก่ ช่องหูและเยื่อบุแก้วหู จมูก  โพรงอากาศข้างจมูกหรือไซนัส คอหอย หลอดลม ปอด และ เยื่อหุ้มปอด เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบตัวรับสัญญาณการไอบริเวณเยื่อหหุ้มหัวใจและกระเพาะอาหารด้วย

อาการไอ สามารถแบ่งได้ 2 ชนิดใหญ่ คือ

  • ไอแบบฉับพลัน มีระยะการไอน้อยกว่า 3 สัปดาห์ สาเหตุของการไอมักเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน เช่น หวัด ไซนัสอักเสบ คอหรือกล่องเสียงอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือเมื่ออาการของโรคกำเริบ เข่น โรคถุงลมโป่งพอง ปอดอักเสบ การที่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในหลอดลมหรือสัมผัสกับสารระคายเคือง เช่น ควันรถ ควันบุหรี่ กลิ่นสเปรย์ เป็นต้น
  • ไอแบบเรื้อรัง มีระยะการไอมากกว่า 3 สัปดาห์ ถึง 8 สัปดาห์ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การรับประทานยารักษาโรคความดันโลหิตสูงชนิด ACE-1 เป็นระยะเวลานาน โรคไซนัสอักเสบเรื้อรังแล้วมีน้ำมูกไหลลงคอ โรคหืด โรคกรดไหลย้อน การใช้เสียงมากทำให้เกิดสายเสียงอักเสบเรื้อรัง โรควัณโรคปอด โรคสมองส่วนที่ควบคุมการไอผิดปกติ  แต่การไอแบบเรื้อรังสามารถเกิดจากสาเหตุที่มากกว่า 1 ชนิดก็เป็นไปได้คะ

การรักษาอาการไอ ด้วยยาแก้ไอ

ยากแก้ไอสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่

  • ยาแก้ไอแบบมีเสมหะ มีฤทธิ์ทำให้ร่างกายสร้างสารน้ำออกมาหล่อเลี้ยงทางเดินหายใจมากขึ้น และออกฤทธิ์ต่อเสมหะโดยตรง ทำให้เสมหะไม่เหนียวข้น ยาแก้ไอแบบมีเสมหะมักมีส่วนผสมของยาขยายหลอดลม มักทำให้ผู้ทานยามีอาการใจสั่น หากใช้ยามากเกินไป
  • ยาแก้ไอแบบไอแห้ง หรือยากดอาหารไอ ยากลุ่มนี้มีฤทธิ์ต่อระบบประสาท ทำให้กลไกตอบสนองของร่างกายต่อการไอเกิดขึ้นน้อยลงและช่วยบรรเทาอาการไอ ยากลุ่มนี้นิยมใช้กับอาการไอที่เกิดจากการแพ้หรือไอแบบมีเสมหะ

การที่เราไอมากๆ จะทำให้เสียบุคลิกภาพในการอยู่ร่วมกับคนในสังคม ทำให้เป็นที่รังเกียจกับผู้อยู่ใกล้ชิด เพราะคิดว่าเป็นโรคไม่กล้าเข้าใกล้ นอกจากนี้ยังรบกวนเวลารับประทานอาหารหรือเวลานอนหลับ ทำให้นอนหลับไม่สนิท เมื่อตื่นก็จะรู้สึกไม่สดชื่น และอาจมีอาการง่วงในระหว่างวันด้วยคะ หากไอถี่ๆเกิดในผู้สูงวัยอาจทำให้กระดูกอ่อนซี่โครงหักได้ หรือทำให้ถุงลมหรือเส้นเลือดฝอยในปอดแตก จะส่งผลให้เกิดอาการหอบหืด เหนื่อยง่าย การไอยังส่งผลเสียต่อการผ่าตัดตาและหู เช่นการผ่าตัดต้อกระจก การไอจะทำให้เลนส์แก้วตาเทียมที่ใส่อยู่หลุดออกได้ หรือการผ่าตัดปะเยื่อแก้วหูก็อาจทำให้แก้วหูเทียมที่ติดไว้เคลื่อนที่ได้

หากอยากหายจากอาการไอก็ควรที่จะทราบสาเหตุของการไอเสียก่อน และรักษาตามสาเหตุนั้นๆ  หากผู้ป่วยติดเชื้อในระบบทางเดินหายในส่วนบนหรือส่วนล่าง เช่น หวัด หลอดลมอักเสบ และมีการไอไม่มากนักก็อาจรักษาเบี้องต้นด้วยยาบรรเทาอาการไอ หากการไอแบบมีเสมหะ  เสมหะมีลักษณะเหนียวข้นมากและเป็นการยากที่จะขับออกจากหลอดลมด้วยการการไอได้ ก็จะทานยาละลายเสมหะ แต่หากอาการยังไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุของการไอที่แท้จริง และทำการรักษา มิฉะนั้นอาจเกิดอาการแทรกซ้อนได้คะ

ข้อมูลเพิ่มเติม:
อาการไอ ตอนที่ 1 : tartoh.com
ยาแก้ไอ มีกี่แบบ: pharmacy.mahidol.ac.th
อาการไอเรื้อรังรักษาไม่ยาก หากแก้ตรงสาเหตุ : bangkokbiznews.com

Previous articleมะเร็งไต (Kidney Cancer) เมื่อไตเกิดก้อนเนื้อร้ายเป็นมะเร็ง
Next articleเที่ยวพม่า ไหว้ขอพร เทพทันใจ (นัต) ประวัติความเป็นมา