มะเร็งอัณฑะ มารู้จักอาการ สาเหตุและการรักษา

9331

มะเร็งอัณฑะ (Testicular Cancer) เป็นมะเร็งที่เกิดในผู้ชายที่มีอายุระหว่าง 2 ถึง 40 ปี ซึ่งจะมีความแตกต่างกับมะเร็งส่วนใหญ่ที่มักพบในกลุ่มคนที่มีอายุมากกว่านี้

มะเร็งอัณฑะ

มะเร็งอัณฑะเกิดขึ้นที่เนื้อเยื่อลูกอัณฑะสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด คือ มะเร็งชนิดเซมิโนมา (seminoma)พบได้ประมาณ 35% และพบมากขึ้นตามอายุโดยเฉพาะอายุ30-40 ปี ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะตอบสนองต่อการรักษาแบบรังสีบำบัดและเคมีบำบัดได้เป็นอย่างดี และมะเร็งชนิดนอนเซมิโนมา (non-seminoma) พบได้มากถึง 55% มักพบในช่วงอายุเฉลี่ย 31 ปี เป็นช่วงที่ลูกอัณฑะมีการทำงานเต็มที ซึ่งมะเร็งชนิดนี้จะตอบสนองต่อเคมีบำบัดได้เป็นอย่างดี

สาเหตุการเกิดโรคมะเร็งอัณฑะ

ทางการแพทย์พบว่าพันธุกรรมมีผลต่อการเกิดมะเร็งหากคนในครอบครัวมีประวัติการเป็นมะเร็งอัณฑะ การมีที่ลูกอัณฑะไม่เคลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะหรือที่เราเรียกว่าไข่ทองแดง  รวมทั้งการรับประทานอาหารที่ได้รับการฉีดด้วยฮอร์โมนเป็นเวลานานๆ ผู้ที่มีนิสัยเคร่งเครียดอยู่เสมอ ตลอดจนการรับการแผ่รังสีจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ เตาไฟฟ้า ไมโครเวฟ โทรศัพท์มือถือ และการทำงานที่คลุกคลีกับสารเบนซิน โคโรฟอร์มและเขม่า เช่น นักดับเพลิง สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรค

สัญญาณเตือนอาการโรคมะเร็งอัณฑะ

อาการที่เป็นสัญญาณเตือนว่าคุณผู้ชายกำลังถูกคุมคามด้วยโรคมะเร็งอัณฑะ คือคลำเจอก้อนเนื้อในลูกอัณฑะแต่ไม่เจ็บ ซึ่งจะแตกต่างกับภาวะลูกอัณฑะอักเสบแบบเฉียบพลันที่พบว่ามีก้อนและมีอาการเจ็บร่วมด้วย มีน้ำในถุงอัณฑะอย่างเฉีนบพลัน  มีความรู้สึกหนัก หน่วง ลูกอัณฑะ ลูกอัณฑะแข็งและบวมโต ปวดท้องอย่างเฉีนบพลัน เต้านมโตขึ้นคล้ายผู้หญิง และการมีบุตรยากทั้งที่ไม่ได้เป็นหมัน

มะเร็งอัณฑะจะค่อยเริ่มด้วยการสร้างเซลล์ผิดปกติในท่อสร้างอสุจิ และพัฒนาสู่ระยะที่ 1 เป็นช่วงที่มะเร็งอยู่เฉพาะเนื่อเยื่อชั้นในของอัณฑะหรือเริ่มแพร่เข้าเส้นเลือดและท่อน้ำเหลืองภายในอัณฑะ มะเร็งยังคงอยู่ในอัณฑะและกระจายไปต่อมน้ำเหลืองในท้องตั้งแต่ 5 ต่อมขึ้นไป  มีขนาดก้อนตั้งแต่ 2-5 เซ็นติเมตรเป็นระยะที่ 2 และระยะที่ 3 เป็นระยะลุกลามเข้าสู่อวัยวะอื่น เช่น ปอด อวัยวะในช่องท้อง

การรักษาเมื่อป่วยเป็น มะเร็งอัณฑะ

มะเร็งลูกอัณฑะตอบสนองได้ดีกับการรักษาถึงแม้จะเป็นในระยะลุกลามแล้วก็ตามและหากตรวจพบในระยะแรกเริ่ม ก็สามารถรักษาหายได้สูงถึง 95-97 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียวคะ เมื่ออาการของโรครุนแรงแพทย์จำเป็นต้องผ่าตัดเอาลูกอัณฑะออก เลาะต่อมน้ำเหลือง  และอาจใช้วิธีรังสีบำบัดและเคมีบำบัดร่วมด้วย เนื่องจากการรักษามะเร็งชนิดนี้มักมีผลข้างเคียงต่อการผลิตอสุจิและสมรรถภาพทางเพศ แพทย์จึงเน้นการรักษาที่ส่งผลกระทบน้อยที่สุดและเป็นวิธีที่ดีที่สุดต่อคนไข้คะ

การตรวจลูกอัณฑะด้วยตนเอง

คุณผู้ชายสามารถตรวจลูกอัณฑะของตนเองได้เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้นอย่างน้อยเดือนละครั้ง โดยแนะนำให้ตรวจหลังอาบน้ำเพราะผิวหนังบริเวณลูกอัณฑะหย่อนและคลำได้ง่าย โดยการใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ค่อยๆคลำเลื่อนไปเรื่อยๆ คลำว่ามีก้อนหรือมีการอักเสบเกิดหรือไม่ บริเวณด้านหลังของลูกอัณฑะจะได้ส่วนหยุ่นๆขนาดเล็กถือว่าปกติ การคลำให้คลำไปที่ละข้าง หากพบความผิดปกติหรือไม่แน่ใจครวปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจเป็นถุงน้ำหรือเส้นเลือดขอดบริเวณลูกอัณฑะก็สามารถพบได้บ่อยกว่ามะเร็งคะ

แนะนำให้คุณผู้ชายควรหมั่นตรวจสุขภาพของอวัยวะสืบพันธุ์ของตนเองอยู่เป็นประจำ หรือหากไม่แน่ใจสามารถปรึกษาแพทย์เพื่อทำการตรวจให้ได้เช่นกัน เพราะมะเร็งสามารถเกิดได้กับทุกอวัยวะในร่างกาย พบก่อนรักษาหายได้ แต่หากปล่อยทิ้งไว้การรักษาก็ลำบากมากขึ้นนะคะ นกเขาไม่ร้อง..เรื่องใหญ่ของลูกผู้ชายเลยนะ

ข้อมูลอ้างอิง
โรคมะเร็งอัณฑะคืออะไร : siamdealing.com
เมื่อน้องชายกลายเป็นมะเร็ง : komchadluek.net
มะเร็งของอัณฑะ : chulacancer.net
ควรทำอย่างไรเมื่อพบก้อนที่อัณฑะ : prostate-rama.com
เมื่อน้องชายกลายเป็นมะเร็ง : talkaboutsex.thaihealth.or.th

Previous articleการต่ออายุใบขับขี่ ได้ที่ไหน ใช้เอกสารอะไรบ้าง
Next articleการรักษาสมดุลโครงสร้างร่างกาย ไร้โรคภัยไข้เจ็บ