ประกันภัยรถยนต์ เรียนรู้ก่อนตัดสินใจทำประกัน

549

ในทุกวันนี้อัตราการเกิดอุบัติเหตุค่อนข้างสูง ไม่ว่าจะเกิดจากความประมาทเลินเล่อ หรือเพราะเหตุสุดวิสัยก็ตาม เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้ว ย่อมส่งผลเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินของผู้ขับขี่และผู้อื่น บางรายต้องเสียชีวิต บางรายต้องทุพพลภาพหรืออย่างน้อยสุดก็สร้างความเสียหายกับรถยนต์และทรัพย์สินของท่าน จึงได้มีการออกพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ บังคับให้รถยนต์ทุกคันต้องจัดทำ “ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ” หรือเราเรียกสั้นๆว่า “พ.ร.บ.” เพื่อคุ้มครองผู้ที่ประสบภัยจากการใช้รถโดยเฉพาะ

ประกันภัยรถยนต์

แต่การทำประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ ก็ยังมีความคุ้มครองไม่เพียงพอ บริษัทที่รับทำประกันจึงออกแคมเปญการทำ ประกันภัยรถยนต์ ในแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มความคุ้มครองแก่ผู้ประสบภัยให้มากขึ้น เรียกว่า “ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ” ซึ่งการทำประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้ ไม่มีการบังคับ จะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่เจ้าของรถส่วนใหญ่มักจะทำ เพราะได้รับความคุ้มครองที่มากขึ้น

เรามาดูกันว่า ประกันภัยรถยนต์ ในแต่ละประเภทจะมีคุ้มครองอะไรบ้าง

ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้ จะเป็นการคุ้มครอง ผู้ที่ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บ ทุพพลภาพ หรือเสียชีวิต แต่จะไม่คุ้มครองรถยนต์และส่วนที่เป็นทรัพย์สินของรถยนต์ โดยมีเงื่อนไขการคุ้มครอง ดังนี้

  • จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ไม่เกิน 50,000 บาท/คน
  • ในกรณีที่ทุพพลภาพถาวร หรือเสียชีวิต จ่ายให้ไม่เกิน 100,000 บาท/คน

อ่านเพิ่มเติม: พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยทางรถยนต์ web.krisdika.go.th

ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

จะเป็นการทำประกันภัยรถยนต์แบบสมัครใจ ไม่มีการบังคับ จะทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ มีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ ดังนี้

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 1

ประกันภัยรถยนต์ประเภทนี้ จะคุ้มครอง ผู้ที่ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บ, ทุพพลภาพ,หรือเสียชีวิตรวมถึงรถยนต์และทรัพย์สินในส่วนของรถยนต์ด้วย (คุ้มครองทั้งเราและคู่กรณี)นอกจากนี้ยังมีการเพิ่มความคุ้มครองในกรณีรถหาย รถถูกไฟไหม้ และการประกันตัวในคดีอาญาของการเกิดอุบัติเหตุนั้นๆ

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 จะคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกที่ที่ได้รับบาดเจ็บ, ทุพพลภาพ, หรือเสียชีวิต รวมถึงรถยนต์และทรัพย์สินของคู่กรณี และจะไม่คุ้มครองรถยนต์หรือทรัพย์สินของผู้เอาประกัน (ซ่อมรถคู่กรณี แต่ไม่ซ่อมรถเรา)แต่จะคุ้มครองในกรณีรถผู้เอาประกันสูญหายหรือเกิดไฟไหม้

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 พลัส

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 พลัส หรือประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 จะมีความคุ้มครองคล้ายกับประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 คือคุ้มครองผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอกที่ได้รับบาดเจ็บ, ทุพพลภาพ, หรือเสียชีวิตรวมถึงรถยนต์และทรัพย์สินของคู่กรณีและจะซ่อมรถผู้เอาประกันเฉพาะกรณีชนกับรถด้วยกันเท่านั้น หากไปชนกับยานพาหนะอื่นๆที่ไม่ใช่ยานพาหนะทางบกก็ไม่คุ้มครอง (รถชนรถ)แต่จะคุ้มครองในกรณีรถผู้เอาประกันสูญหายหรือเกิดไฟไหม้

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 จะคุ้มครอง บุคคลภายนอก (คู่กรณี)ที่ได้รับบาดเจ็บ, ทุพพลภาพ, หรือเสียชีวิต รวมถึงรถยนต์และทรัพย์สินในส่วนของรถยนต์ด้วย แต่จะไม่คุ้มครอง ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร และรถยนต์รวมถึงทรัพย์สินในส่วนของรถยนต์ของผู้เอาประกัน (จ่ายชดเชยให้กับคู่กรณี แต่ไม่จ่ายชดเชยให้กับเรา) และไม่คุ้มครองรถของผู้เอาประกันในกรณีสูญหายหรือเกิดไฟไหม้

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 พลัส

ประกันภัยรถยนต์ชั้น 3 พลัส จัดอยู่ในประกันภัยรถยนต์ประเภท 5 ด้วยเช่นกันจะคุ้มครอง ผู้ที่ขับขี่ ผู้โดยสาร และบุคคลภายนอก ที่ได้รับบาดเจ็บ, ทุพพลภาพ, หรือเสียชีวิต รวมถึงรถยนต์และทรัพย์สินในส่วนของรถยนต์ด้วย (คุ้มครองทั้งเราและคู่กรณี)แต่จะไม่ความคุ้มครองในกรณีรถของผู้เอาประกันสูญหายหรือเกิดไฟไหม้

การจ่ายค่าสินไหมชดเชย ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ

สำหรับค่าสินไหมชดเชยของการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ ในแต่ละประเภท บริษัทประกันภัยรถยนต์แต่ละบริษัท จะมีนโยบายในการจ่ายค่าสินไหมชดเชยที่แตกต่างกัน ซึ่งจะระบุไว้ในกรมธรรม์ ผู้ที่จะซื้อกรมธรรม์ประกันรถยนต์ควรศึกษารายละเอียดการคุ้มครองและเงื่อนไขการจ่ายค่าสินไหมชดเชยให้เข้าใจชัดเจนก่อนที่จะตัดสินใจทำประกันภัยรถยนต์กับบริษัทฯนั้นๆ

ทำประกันรถยนต์ แบบไหนดี?

มีหลายท่านตัดสินใจไม่ถูกว่าจะทำประกันภัยรถยนต์แบบไหนดี ก็คงต้องขึ้นกับความเหมาะสมและความต้องการในการคุ้มครองของแต่ละคน เช่น ท่านต้องขับขี่รถยนต์ทุกวัน ต้องเดินทางอยู่เป็นประจำ การทำประกันภัยรถยนต์ชั้น 1 ก็ดูเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดนะครับ…

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
ทำไมเราจึงควรทำประกันภัยรถยนต์ : dhipaya.co.th
เรื่องของประกันเป็นเรื่องที่เข้าได้ไม่ยาก : oknation.net
ความแตกต่างระหว่างประกันภัยประเภท 1, 2, 3, 2+ และ 3+ : bloggang.com

Previous articleเกร็ดความรู้เกี่ยวกับ การตรวจสภาพรถ ก่อนต่อภาษีประจำปี
Next articleแต่งบ้านสไตล์วินเทจ ไอเดียแบบไหนดี