ทำไม Fortnite จึงเป็นเกมฟรีแนว Battle Royale ที่ฮิตระเบิด

43

Battle Royale

หนึ่งในกลยุทธ์ทางการตลาดที่บริษัทเกมชอบใช้เพื่อสร้างสีสัน กระตุกเรตติ้ง ดึงกลุ่มลูกค้าใหม่ ๆ ได้แก่ การครอสโอเวอร์หรือคอลแลปส์ ซึ่งมาจากคำว่า Collarboration (การทำงานร่วมกัน) คือ ชวนคนดังหรือตัวละครยอดนิยมจากวงการอื่น ๆ อย่าง ทีวีซีรี่ส์ ภาพยนตร์ ดนตรี กีฬา หนังสือการ์ตูน หรือกระทั่งวิดีโอเกมด้วยกัน เข้ามาอยู่ในเกมของตัวเอง

หนึ่งในเกมที่นิยมใช้วิธีครอสโอเวอร์กับสื่อระดับ Pop Culture ก็คือ Fornite เกมออนไลน์แนว Battle Royale ผลิตโดย Epic Games

ความจริงจุดเริ่มต้นของ Fornite เป็นเกมแนวตีป้อมป้องกันฐานหรือ Tower Defense Co-op ที่ชื่อว่า Fortnite: Save the World เมื่อปี 2017 ในยุคที่เกม Battle Royale กำลังรุ่งเรือง ทีมงาน Epic Games จึงเกาะกระแสเพิ่มโหมด Battle Royale เข้าไปด้วย แต่กลับฮิตระเบิดระเบ้อภายในเวลาไม่กี่เดือน จึงมีการเปิดตัว Fortnite ฉบับ Battle Royale ขึ้นมา ซึ่งเรื่องราวถัดจากนั้น เกมเมอร์ส่วนใหญ่รู้กันดีอยู่แล้ว

เสน่ห์ที่ Fornite ต่างจากเกมแนวเดียวกันคือ ใช้ประโยชน์จากเกมการเล่นแบบ Build & Craft จากเกมหลัก Fortnite: Save the World โดยผู้เล่นสามารถใช้วัตถุดิบต่าง ๆ เช่น ไม้ เหล็ก อิฐ มาสร้างกำแพงป้องกันและพื้นที่ให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบ ซึ่ง Fornite กลายเป็นเกม Battle Royale ระดับ Advanced ที่ไม่ได้แค่ยิง แต่มีการสร้างเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งปัญหาไม่ได้อยู่ที่การหาของมาสร้าง แต่อยู่ที่การควบคุมในการสร้าง ซึ่งต้องมีความชำนาญและละเอียดรอบคอบ

อีกจุดหนึ่งที่ Fornite ดึงดูดเกมเมอร์หน้าใหม่เข้ามาได้เสมอคือ การครอสโอเวอร์ ถึงขั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นขาใหญ่แห่งการครอสโอเวอร์ในวงการวิดีโอเกม

หลังจากสร้างฐานแฟนคลับขึ้นมาจากเกมเพลย์ช่วงปี 2017 – 2018 ทีมงาน Epic Games เกิดไอเดียจับมือคอลแลปส์กับ Marvel ใน Fornite Season 4 เพื่อโปรโมทภาพยนตร์ฟอร์มยักษ์ Avengers: Infinity War แต่กลายเป็นหนังซูเปอร์ฮีโร่รับบท “ป๋าดัน” จน Fornite เป็นเกมที่คนนอกชุมชนวิดีโอเกมรู้จักอย่างแพร่หลาย หลังจากนั้น Fornite ก็ติดใจจึงเที่ยวชวนคนโน้นคนนี้มาฟีเจอริ่งไปทั่วอย่างเช่น DC Comics, Star Wars, อเมริกันฟุตบอล NFL, บาสเกตบอล NBA, John Wicks, Travis Scott, Ariana Grande, Predator, G.I.Joe, Tron, Alien, The Walking Dead, Resident Evil และอื่น ๆ อีกมากมาย

ด้วยกลยุทธ์ครอสโอเวอร์รัว ๆ ทำให้เกมเมอร์ที่ไม่เคยเล่นเกมนี้ยังหันมาสนใจ หรือคนที่ไม่เคยเล่นเกมยังรู้จัก นั่นทำให้ Fornite เป็นเกมที่ถูกนำไปเป็นกรณีศึกษาสำหรับการพัฒนาเกมทั้งที่เป็นเกม Free-to-play

Previous articleFar Cry 6 ยิ่งเล่นยิ่งมันส์หากอินเกมการเมือง
Next articleผลวิจัยชี้เล่นเกม Call of Duty พัฒนาทักษะการมอง ความคิด และการตัดสินใจ