รองเท้าเซฟตี้ หรือรองเท้านิรภัย เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่หลายคนในสายงานก่อสร้าง หรือโรงงาน คุ้นเคยกันดี เพราะถือเป็น “ด่านแรก” ในการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับเท้า ไม่ว่าจะเป็นของตก ทิ่ม แทง ไฟฟ้า หรือแม้แต่สารเคมี

แต่การใส่รองเท้าเซฟตี้ให้ “เซฟได้จริง” ไม่ใช่แค่หยิบมาใส่รุ่นไหนก็ได้ เพราะรองเท้าแต่ละแบบถูกออกแบบมาให้เหมาะกับลักษณะงานต่างกันไป หากเลือกผิดก็อาจไม่ช่วยป้องกันได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นเรามาทำความเข้าใจว่าควรใส่รองเท้าเซฟตี้อย่างไรให้ปลอดภัยจริงในทุกสถานการณ์
เข้าใจประเภทของรองเท้าเซฟตี้ก่อนเลือกใส่
รองเท้าเซฟตี้มีหลายประเภท โดยจะแตกต่างกันไปตามระดับการป้องกัน ได้แก่
- รองเท้าหัวเหล็ก (Steel Toe Cap) เหมาะกับงานที่มีความเสี่ยงต่อของตก เช่น ไซต์ก่อสร้าง โรงงาน หรือคลังสินค้า
- รองเท้าพื้นกันทะลุ (Puncture-Resistant Sole) ด้านล่างเสริมแผ่นเหล็กหรือวัสดุป้องกันการแทงทะลุ เหมาะกับพื้นที่ที่มีเศษโลหะหรือตะปู
- รองเท้ากันไฟฟ้า (Electrical Hazard) ออกแบบมาเพื่อลดการนำไฟฟ้า เหมาะกับงานไฟฟ้าหรือบริเวณที่มีความเสี่ยงจากกระแสไฟ
- รองเท้ากันลื่น (Slip-Resistant) พื้นรองเท้าออกแบบให้เกาะพื้นได้ดี ป้องกันการลื่นในพื้นที่เปียกหรือมีน้ำมัน
เลือกขนาดรองเท้าให้พอดีกับเท้า
แม้รองเท้าจะมีฟังก์ชันป้องกันดีแค่ไหน แต่ถ้าขนาดไม่พอดี ก็อาจทำให้เท้าบาดเจ็บหรือเกิดอุบัติเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น เดินสะดุด ลื่น หรือรองเท้าหลุดขณะทำงาน นอกจากนี้ควรเผื่อพื้นที่ของรองเท้าประมาณ 0.5–1 ซม. ที่ปลายเท้า เพื่อรองรับแรงกระแทกและความยืดหยุ่นขณะเดินหรือยืนนาน ๆ
ตรวจสอบมาตรฐานความปลอดภัยก่อนซื้อ
รองเท้าเซฟตี้ที่ดีต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยสากล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถป้องกันอันตรายได้จริง ไม่ใช่แค่ใส่แล้วดูเหมือนปลอดภัยเท่านั้น โดยมาตรฐานที่ใช้แล้วปลอดภัย มีดังนี้
- มาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. (ประเทศไทย)
หากผลิตในประเทศไทย ให้เลือกที่มีเครื่องหมาย มอก.523-2554 สำหรับรองเท้านิรภัย เพื่อรับรองว่าผ่านการตรวจสอบและทดสอบตามเกณฑ์ที่กำหนด
- มาตรฐาน EN ISO 20345 (ยุโรป)
ระบุระดับการป้องกัน เช่น S1, S2, S3 โดยแต่ละระดับจะมีคุณสมบัติเพิ่มขึ้น เช่น กันน้ำ กันไฟฟ้า พื้นกันทะลุ เป็นต้น
โดยสามารถเช็กได้จากฉลากบนกล่องหรือป้ายรองเท้า หรือสอบถามผู้ขาย รวมถึงการตรวจสอบรายละเอียดสินค้าออนไลน์ให้ชัดเจน
ทั้งนี้หากคุณกำลังมองหารองเท้าเซฟตี้ที่ได้มาตรฐาน และเหมาะกับงานของคุณ อย่าลืมเลือกให้ตรงกับลักษณะงานที่ทำ พร้อมตรวจสอบมาตรฐานรองรับทุกครั้งก่อนตัดสินใจซื้อ เพื่อความปลอดภัยที่แท้จริงในระยะยาว