อาการปวดหลังร้าวลงขายังพอรักษาได้มั้ย? หาคำตอบได้ที่นี่

1385

ด้วยพฤติกรรมของการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการยืน การเดิน หรือการนั่ง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นบ่อเกิดของอาการปวดหรือความผิดปกติของกระดูกและกล้ามเนื้อได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนที่เป็นมนุษย์ออฟฟิศทั้งหลายที่มักจะต้องนั่งนานๆ อยู่เป็นประจำจนอาจจะเกิดอาการปวดหลังร้าวลงขา แล้วอาการแบบนี้รักษาได้ไหม?

อาการปวดหลังจนลามมาถึงสะโพกเฉียบพลัน

อาการปวดหลังร้าวลงขาที่ลามมาถึงสะโพกนั้นจะมีการแสดงอาการอย่างต่อเนื่อง อาจยาวนานได้ถึง 6 เดือน โดยอาการประเภทนี้หนึ่งในสาเหตุคือเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งจำเป็นจะต้องพึ่งพาการรักษาได้ดีอย่างต่อเนื่องเพราะจะกินระยะเวลานานกว่าอาการปวดหลังปกติทั่วไป และต้องคอยเฝ้าระวังสิ่งที่อาจทำให้เกิดการกระทบกระเทือนซึ่งมักจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการปวดที่รุนแรงมากกว่าเดิม

อาการปวดหลังร้าวลงขา

อาการปวดหลังร้าวลงขาเฉียบพลัน

อาการปวดหลังร้าวลงขาเฉียบพลันเป็นอีกหนึ่งอาการที่จัดอยู่ในกลุ่มอาการเรื้อรัง อาทิ เกิดจากการที่กระดูกสันหลังตีบแคบและไปเบียดเส้นประสาท ซึ่งการรักษาถือเป็นเรื่องจำเป็น เพราะหากไม่รีบรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ จะทำให้เกิดอาการปวดหลังในระยะยาวที่รักษาไม่หายหรือเป็นหายๆ โดยอาการปวดแบบนี้ จำเป็นที่จะต้องที่จะต้องหาแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือศัลยแพทย์ระบบประสาท

สัญญาณเตือนอาการปวดหลังเรื้อรัง

ใครที่มีอาการปวดหลังร่วมกับอาการเหล่านี้ อาจบ่งบอกได้ถึงสัญญาณของอาการเจ็บปวดเรื้อรังที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการรักษาโดยด่วน ไปเช็คกันหน่อยดีกว่าว่าจะมีอาการแบบไหนบ้าง

ปวดเหนือบั้นเอวตลอดเวลา

อาการปวดเหนือบั้นเอวตลอดเวลาอาจเกิดจากก้อนบริเวณไตซึ่งอาจเกิดจากถุงน้ำในไตซึ่งโรคนี้อาจถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมจนกลายเป็นโรคเรื้อรังได้ได้

มีไข้หนาวสั่นร่วมกับอาการปวดหลังบริเวณเอว

การมีไข้อาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ โดยขั้นแรกแพทย์จะจ่ายยาฆ่าเชื้อให้รับประทานตามจำนวนวันที่กำหนด แต่หากไม่ดีขึ้นอาจจะต้องมีการเอ็กซ์เรย์เพื่อหาสาเหตุต่อไปก่อนที่จะเกิดอาการเรื้อรัง

ปวดหลังลามมาที่ คอ บ่า ไหล่ และหน้าอก

อาการปวดที่ลามไปที่คอ บ่า ไหล่ จนถึงหน้าอกนั้น หากเป็นนานๆ อาจนำไปสู่โรคออฟฟิศซินโดรมได้ ซึ่งมักจะเกิดในคนที่ต้องนั่งทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานๆ รวมไปถึงคนที่ชอบนั่งหรือเดินผิดท่า ก็อาจนำมาซึ่งอาการผิดปกติ หลังคด กระดูกงอ จนอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรังต่อไปปในอนาคต

การรักษาอาการปวดหลังร้าวลงขานั้น นอกจากการรักษาได้โดยกายภาพที่โรงพยาบาลแล้ว ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งการให้ความร่วมมือในการไปพบแพทย์ตามนัดหมายและการคุมความประพฤติในเรื่องของการปฏิบัติตนตามแพทย์สั่ง การรับประทานยาแก้ปวด บริหารร่างกายเองที่บ้าน เพื่อการฟื้นฟูสุขภาพให้ดีขึ้นตามลำดับและหายขาดจากความเจ็บปวดเหล่านี้

Previous articleเทคนิคการเลือก ศูนย์ซ่อมนาฬิกา ให้ตรงใจ
Next articleกำจัดปลวกระบบเหยื่อ Exterra เข้าถึงทุกซอกทุกมุมตายยกรัง