โรคมือเท้าปาก (Hand Foot and Mouth Disease: HFMD ) เป็นโรคระบาดที่มักเกิดขึ้นในช่วงหน้าฝน ที่มีความอับชื้น ระบายอากาศไม่ดี จึงมีโอกาสติดเชื้อและแพร่กระจายสูง เกิดจากกลุ่มไวรัสที่อยู่ในลำไส้ของคนสามารถติดต่อได้จากการสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก อุจจาระ และน้ำตุ่มพองของผู้ป่วย
โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสพบได้มากในทารกและเด็กเล็ก อย่างไรก็ตามเด็กโตหรือผู้ใหญ่ก็สามารถเป็นโรคมือเท้าปากได้เช่นกันแต่จะมีในจำนวนน้อยแล้วความรุนแรงต่ำ เนื่องจากร่างกายแข็งแรงและมีภูมิต้านทานมากกว่า และบางส่วนเคยรับเชื้อทำให้มีภูมิคุ้มกันมาก่อน
โรคมือเท้าปากเกิดจากการติดเชื้อในกลุ่มของเอนเทอโรไวรัสซึ่งมีมากกว่าร้อยสายพันธุ์โดยสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคที่พบบ่อย เช่น Coxsackie A16 เป็นสายพันธุ์ไม่รุนแรงและ Enterovirus 71 เป็นสายพันธุ์แบบรุนแรง
อาการเริ่มโรคจะมีอาการคล้ายเป็นไข้หวัด มีตุ่มใส แผลร้อนในเกิดขึ้นในปาก มีผื่นแดงหรือตุ่มใสบริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้าหรือก้น มีอาการเป็นไข้ประมาณ 5-7 วัน อาการจะหายปกติภายใน 7-10 วัน โรคมือเท้าปากอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ สมองอักเสบ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจทำให้ถึงเสียชีวิตได้
ยังไงก็ตามโรคมือเท้าปากจะมีลักษณะคล้ายโรคอีสุกอีใสซึ่งทำให้ผู้ใหญ่บางคนคิดว่าลูกตัวเองเป็นอีสุกอีใสเสียมากกว่าแต่ลักษณะตุ่มของอีสุกอีใสจะมีลักษณะตุ่มใสคล้ายหยดน้ำ ผื่นแดงตุ่มกระจายมีขนาดประมาณ 0.1 – 0.5 mm แต่โรคมือเท้าปากน้ำข้างในจะมีเป็นสีขุ่น ตุ่มเกิดรวมกันเป็นกลุ่มขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.2 mm – 1 เซนติเมตร ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองสามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้เชื้อที่ทำให้ก่อโรคก็เป็นคนละตัวกัน โรคอีสุกอีใสจะพบได้ทุกวัยส่วนใหญ่เป็นครั้งเดียวในชีวิตจะมีส่วนน้อยที่เป็นมากกว่า 1 ครั้งในขณะที่โรคมือเท้าปากพบในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีและสามารถเป็นได้หลายครั้งในชีวิต
เนื่องจากในปัจจุบันโรคมือเท้าปากยังไม่มีการรักษาโดยเฉพาะ การรักษาจึงเป็นการรักษาตามอาการโดยทั่วไปของผู้ป่วย เช่น เจ็บเข่ามากและประทานอาหารไม่ได้มีอาการอ่อนเพลีย ขาดน้ำก็จะพยายามป้อนน้ำ นมหรืออาหารอ่อนให้กับผู้ป่วย หากผู้ป่วยอ่อนเพลีย นอนไม่หลับอาจจะให้น้ำเกลือทางหลอดเลือดร่วมกับยาลดไข้ แก้ปวด
การป้องกันโรคมือเท้าเปื่อย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการดูแลสุขภาพอนามัยที่ดีหลีกเลี่ยงไม่ให้เด็กคลุกคลี หรือใกล้ชิดกับผู้ป่วย รักษาอนามัยส่วนบุคคล เช่น ทำความสะอาดมือก่อนหยิบอาหารเข้าปาก ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาดทุกครั้งหลังจากขับถ่าย รับประทานอาหารที่สุก สะอาด ใหม่ และดื่มน้ำที่สะอาด ตัดเล็บให้สั้น ไม่ควรใช้ภาชนะอาหารร่วมกับผู้อื่น
หากเด็กมีอาการของโรคให้รีบพาพบแพทย์ทันที และให้เด็กหยุดเรียนอย่างน้อย 1 สัปดาห์หรือจนกว่าแผลจะหายเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคสู่บุคคลอื่นๆ ส่วนสถานการศึกษาที่พบเด็กป่วยด้วยโรคมือเท้าปากจะต้องทำการปิดโรงเรียนอย่างน้อย 2 สัปดาห์เพื่อทำความสะอาดห้องเรียน ห้องน้ำ สระว่ายน้ำ โรงอาหาร สนามเด็กเล่น โดยใช้ผงซักฟอกหรือสบู่ทำความสะอาด แล้วตามด้วยน้ำยาฟอกขาวทิ้งไว้ประมาณ 10 นาที แล้วล้างเช็ดออกด้วยน้ำสะอาดเพื่อป้องกันสารเคมีตกค้าง เครื่องเล่นของเด็กหลังจากทำความสะอาดแล้วควรผึ่งแดดให้แห้ง หยุดใช้เครื่องปรับอากาศ เปิดม่านให้แสงแดดส่องให้ทั่วถึงในบริเวณอาคารเพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค
โรคมือเท้าปาก สามารถรักษาให้หายได้แต่จะอันตรายถึงชีวิตเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อน หากสงสัยว่าลูกเป็นโรคนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันทีคะ
ข้อมูลอ้างอิง
โรคมือ เท้า ปาก โรคระบาดที่มากับหน้าฝน: paolohospital.com
โรคมือ เท้า ปาก รู้ทันไม่อันตราย: thaihealth.or.th
หมอทวียันเด็กโตผู้ใหญ่ติดเชื้อมือเท้าปากได้: mgronline.com
อีสุกอีใส VS มือเท้าปากแตกต่างกันอย่างไร: sanook.com