กัญชา ไม่ใช่แค่สารเสพติด กัญชามีประโยชน์อะไรบ้าง

1507

ช่วงนี้เราคงจะยินข่าวเกี่ยวกับเรื่องของกัญชากันอยู่เนื่อง ว่าได้ถูกปลดออกจากยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 และอนุญาตให้ปลูกเพื่อการสกัดเป็นยารักษาในเขตพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น  ซึ่งทำให้หลายๆคนวิตกว่าจะมีคนเสพติดกัญชามากขึ้น เพราะหาซื้อได้ง่ายขึ้น

กัญชา
ขอบคุณรูปภาพจาก news.thaipbs.or.th

หากข้อมูลทางการแพทย์ ระบุไว้ว่า กัญชา สามารถใช้รักษาและบรรเทาอาการของโรคบางชนิดได้ อาทิ โรคอ่อนล้า โรคข้อ ปวดไมเกรน ปวดประจำเดือน โรคต้อหิน อาการไอ อาการหอบหืด อาการสั่นเพ้อ อาการคลื่นไส้อาเจียนอันเป็นผลข้างเคียงจากการใช้เคมีบำบัดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง นอกจากนี้กัญชายังช่วยชะลอน้ำหนักลดในผู้ป่วยโรคมะเร็งและโรคเอดส์ได้

กัญชา มีสาร 2 ชนิดหลัก คือ

1. สาร CBD (Cannabidiol) ที่ช่วยลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ลดการอักเสบบวมของแผลหรือเนื้องอก ระงับเซลล์มะเร็งที่กำลังเติบโต ระงับการเกร็ง ชักกระตุก และสร้างภูมิคุ้มกันในระบบประสาท

2. สาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่มีฤทธิ์ต่อประสาท ทำให้ระบบประสาทสัมผัสทำงานดีขึ้น กระตุ้นความอยากอาหาร และช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย  วิธีการใช้กัญชาสกัดที่จะได้ผลดีคือการหยอดใต้ลิ้น เพราะจะได้รับสารหลักสูงกว่า และซึ่มเข้าสู่ระบบประสาทได้เร็ว เหมาะกับผู้ป่วยโรคทางสมอง ใช้เหน็บทางทวารหรือช่องคลอด เพื่อรักษาริดสีดวง มะเร็งลำไส้ และมะเร็งปากมดลูก

ในหลายประเทศได้ถอดกัญชาออกบัญชียาเสพติด และนำกัญชามารักษามะเร็งอย่างเปิดเผย  กัญชาจะถูกสกัดออกมาเป็นสารสังเคราะห์ ใช้ต้านการอาเจียนในผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็ง รวมทั้งยังใช้เพิ่ม กระตุ้นความอยากอาหารให้ผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี  กัญชาทำหน้าที่เหมือน TP53 ซึ่งเป็นยีนที่คอยปกป้องมะเร็ง อย่างในประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายให้ 14 มลรัฐสามารถใช้กัญชาในทางการแพทย์ได้ เช่น โคลาราโด, แคลิฟอร์เนีย, มิชิแกน เป็นต้น

กัญช้าเป็นพืชล้มลุกประเภทเดียวกับหญ้า เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่เขตร้อน ลำต้นสูง 2-4 ฟุต ใบมีลักษณะเป็นแฉกตั้งแต่ 5-8 แฉก มีลักษณะคล้ายใบมันสำปะหลัง  ส่วนดอกจะเป็นช่อขนาดเล็ก ออกตามง่ามกิ่งและก้าน  ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์คือ กิ่ง ก้าน ใบ และยอดช่อดอก โดยการนำไปตากแห้ง  แล้วนำมาบดหรือหั่นหยาบๆ ใช้ยัดไส้ในบุหรี่

สารสำคัญที่พบในกัญชาคือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tethahydrocannabind/THC) มีฤทธิ์ต่อสมอง ร่างกาย และจิตใจ ในเบื้องต้นจะมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท ทำให้ร่าเริง หัวเราะตลอด ต่อมาจะมีฤทธิ์กดประสาท ทำให้มีอาการคล้ายเมาสุรา ง่วงนอน เซื่องซึม และหากเสพเข้าไปมากๆจะเกิดประสารหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตนเองไม่ได้

สำหรับประเทศไทยเองนั้นยังไม่มีการอนุญาตให้ปลูกกัญชาเพื่อการจำหน่าย แต่สามารถปลูกเพื่อการวิจัย โดยต้องมีทำเรื่องขอที่ถูกต้อง ส่วนที่อนุญาตให้ปลูกได้ภายใต้กฏหมายนั้นคือ “กัญชง” ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากพืชนิดเดียวกับกัญชา มีสารออกฤทธิ์อย่าง เตตราไฮโดรแคนนาบินอล เหมือนกัน แต่มีปริมาณที่น้อยกว่า  กัญชงมีเส้นใยคุณภาพสูง ยืดหยุ่น แข็งแรง และทนทานสูง ซึ่งสามารถนำไปแปรรูปเป็นเครื่องนุ่งห่ม เสื้อผ้า ปุ๋ย อาหารสัตว์ ยิ่งกว่านั้น กัญชงยังทำเป็นอาหารเสริม เครื่องดื่ม น้ำมันพืช เฟอร์นิเจอร์ ฉนวนกันความร้อน เสื้อกันกระสุน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามถึงจะมีการออกมาเปิดเผยว่ากัญชามีประโยชน์สามารถรักษาโรคต่างๆได้ แต่ก็ยังต้องมีการวิจัยและพัฒนากันต่อไป และเนื่องด้วยกัญชามีผลต่อระบบประสาท การนำมาใช้ที่เหมาะสม ซึ่งหมายรวมทั้งประมาณการใช้ ระยะเวลาการใช้ และวิธีการใช้ จะต้องได้รับการควบคุมที่ชัดเจน เพราะให้เกิดผลดีต่อร่างกาย ไม่ส่งผลเสียต่อผู้ใช้

กัญชา อาจเป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยที่ได้รับการรักษามาหลายวิธีแล้วยังไม่หายได้ แต่ก็อยากให้ศึกษาข้อมูลให้รอบครอบเสียก่อน คะ

ข้อมูลอ้างอิง

พัฒนากัญชง ไม่ใช้กัญชา แปรความหวังสร้างรายได้เกษตรกร: posttoday.com
กัญชา พืชร้ายหรือสมุนไพรทางเลือก: bbc.com
ว่าด้วยเรื่องกัญชา รักษาโรค: bangkokbiznews.com

Previous article5 เหตุผลครองใจ ที่ทำให้คนอยาก เช่าอพาร์ทเม้นท์
Next article3 ข้อควรรู้ วิธีรักษาแหวนเพชร ให้ดูใหม่เสมอ