บอระเพ็ด กับสรรพคุณและประโยชน์ ที่มีมากกว่ารสขม

11197

ขมดั่งบอระเพ็ด” หลายๆคนคงเคยได้ยินประโยคนี้มาบ้าง แต่อาจจะไม่คุ้นหูสำหรับเด็กยุคใหม่ และอาจจะไม่รู้จักว่าบอระเพ็ดคืออะไร หน้าตาเป็นแบบไหน ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักบอระเพ็ดกันคะ

บอระเพ็ด
ขอบคุณรูปภาพจาก sanook.com

บอระเพ็ด บางท้องถิ่นเรียกว่า เจตมูลหนาม , ตัวเจตมูลยาน, เถาหัวดำ, หางหนู, จุ่งจิง หรือเครือเขาฮอ เป็นต้น บอระเพ็ดเป็นพืชไม้เลื้อยเถา เนื้ออ่อน เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีอมเทาดำ มีสีเขียวเป็นรูปหัวใจ ดอกออกตามซอกใบ สีเขียวอมเหลือง ผลมีรูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดหรือชำกิ่งแก่  ในบอระเพ็ดประกอบด้วยสารพิโรติน (picroretin) ที่ให้ความขม สารเอ็นทรานส์เฟรูโลอิลไทรามีน (N-trans-feruloyl tyramine) ที่ช่วยระงับความร้อน

บอระเพ็ด กับสรรพคุณยาแผนไทย

ในตำยาแผนไทย  บอระเพ็ดจัดให้อยู่ในพิกัดตรีญาณรส คือการจำกัดตัวยาที่ทำให้รู้รสอาหาร 3 อย่าง มีไส้หมาก รากสะเดา และเถาบอระเพ็ด แก้ไข้ ดับพิษร้อน ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ บำรุงไฟธาตุ บำรุงกำลัง และจัดอยู่ในพิกัดยาแก้ไข้ 5 ชนิด คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ไข้ 5 ชนิด คือการจำกัดจำนวนตัวยาแก้ไข้ 5 อย่าง รากย่านาง รากคนทา รากชิงชี่ ขี้เหล็กทั้ง 5 และเถาบอระเพ็ด สรรพคุณแก้ไข้พิษร้อน เราสามารถใช้ประโยชน์จากบอระเพ็ดได้เกือบทุกส่วน ได้แก่

1. ราก สามารถใช้ในยาสมุนไพรแก้ไข้เหนือ ไข้จับสั่น ไข้สันนิบาต ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ และช่วยให้เจริญอาหาร

2. ลำต้น ใช้เป็นยารักษาโรคไข้จับสั่น ไข้กาฬ ขับพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ผื่นคัน ช่วยบำรุงธาตุ ทำให้ผิวพรรณผ่องใส แก้เลือดคั่งในสมอง แก้ปวดฝี ลดความร้อน

3. ดอก ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ในหู และในฟัน

4. ผล ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ แก้สะอึก

ในตำรายาอายุรเวทของอินเดียเองก็ระบุไว้ว่า บอระเพ็ดเป็นยาแก้ไข้ มีคุณสมบัติเท่ากับซิงโคนา แก้ธาตุไม่ปกติ โรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ แก้อาการอักเสบ  แก้อาการเกร็ง

นอกจากจะนำบอระเพ็ดมาทำเป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาทำเป็นขนมไว้รับประทานเล่นได้อีกด้วยคะ อย่าง บอระเพ็ดแช่อิ่ม  โดยนำเถาที่ไม่แกจัดมาปลอกเปลือกออก แล้วผ้าเอาไส้ข้างในออก จากนั้นนำไปแช่กับน้ำซาวข้าว ใส่เกลือ  เสร็จแล้วแช่น้ำเกลืออีกครั้ง เพื่อให้รสขมเหลือน้อยที่สุด จึงนำไปต้มให้อ่อนตัวพอเคี้ยวได้ ตักขึ้นล้างด้วยน้ำเย็น นำบอระเพ็ดที่ได้ไปแช่น้ำเชื่อมให้อิ่มตัว สุดท้ายนำไปแตกแดด ให้แห้ง สามารถเก็บไว้รับประทานได้นานที่เดียวคะ

บอระเพ็ดยังถูกนำไปใช้ในวงการเกษตรอีกด้วยคะ โดยนำไปใช้ป้องกันศัตรูพืช เช่น เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น หนอนกอ โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวตายพราย และข้าวลีบ เป็นต้น โดยนำเถาสดของต้นบอระเพ็ดมาขั้นเป็นชิ้นๆ แล้วบดให้ละเอียดผสมกับน้ำทิ้งไว้สัก 2 ชั่วโมง จึงนำมากรองเอาเฉพาะส่วนของน้ำ แล้วนำมาผสมกับผงซักฟอกหรือแชมพูซึ่งเป็นสารจับใบ เท่านี้ก็สามารถนำไปฉีดพ่นไล่แมลงได้แล้วคะ

การรรับประทานในส่วนของรากบอระเพ็ดต่อเนื่อง อาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากมีรสขม จึงไม่ควรรับประทานต่อเนื่องเกิน 1 เดือน และหากต้องการต้องการรับประทานต่อก็ควรเว้นระยะสัก 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ร่างกายได้ปรับสภาพ  และหากมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดแรงควรหยุดรับประทานทันที เพราะอาจเป็นอาการที่แสดงว่าตับเริ่มมีปัญหา และห้ามใช้ในผู้ที่มีภาวะเอนไซม์ตับบกพร่องหรือผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคตับ หรือโรคไตนะคะ

ไม่น่าเชื่อเลยนะคะว่าพืชที่มีรสขมอย่างบอระเพ็ดจะมีคุณประโยชน์ด้านสุขภาพอย่างนี้ น่าหามาปลูกไว้ที่บ้านสักต้น

ข้อมูลอ้างอิง

บอระเพ็ด: Medthai.com
บอระเพ็ด: thaicrudedrug.com
สารพัดประโยชน์ของบอระเพ็ด สมุนไพรไทย: greenerald.blogspot.com
บอระเพ็ดขมสะเด็ด สรรพคุณเพียบ: technologychaoban.com

Previous articleว่านหางจระเข้ กับประโยชน์และเมนูที่น่าลองทำ
Next articleเม็ดแมงลัก กับสรรพคุณเรื่องการควบคุมน้ำหนัก