มะเร็งหลอดอาหาร อาการ การรักษาเมื่อหลอดอาหารเป็นเนื้อร้าย

5643

มะเร็งหลอดอาหาร เมื่อหลอดอาหารเป็นเนื้อร้าย… หลอดอาหารเป็นท่อกลวงยาวประมาณ 10 นิ้ว วางตัวเป็นแนวดิ่งอยู่ทางด้านหลังของทรวงอก หน้าต่อกระดูกสันหลัง หลอดอาหารคายบีบตัวเป็นคลื่นๆ เมื่อเวลามีอาหารผ่านลงไปดันอาหารลงสู่กระเพาะอาหาร

มะเร็งหลอดอาหาร

จะได้รู้อย่างไรว่าเรากำลังป่วย เป็นมะเร็งหลอดอาหาร คุณมีอาการเหล่านี้บ้างหรือไม่ เช่น การกลืนอาหารลำบาก รู้สึกอาหารติดอยู่ในทรวงอก

สาเหตุและแาการของโรคมะเร็งหลอดอาหาร

โดยเฉพาะเมื่อรับประทานอาหารแข็ง เช่นเนื้อสัตว์ ขนมปัง ผัก เกิดจากก้อนมะเร็งไปอุดตันทางเดินอาหารแล้วทำให้กลืนไม่ลง เมื่อก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นมากทำให้ผู้ป่วยกลืนลำบากมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นของเหลวหรือน้ำก็ตาม, รู้สึกปวดตื้อๆหรือแสบร้อนในช่องอ ,รู้สึกท้องอืด อาหารไม่ย่อย, คลื่นไส้อาเจียน , สำลักอาหาร, ไอหรือเสียงแหบ และอาการปวดกระดูกซี่โครงส่วนบนหรือในลำคอ  ถ่ายอุจจาระเหลวมีสีดำ เนื่องจากมีเลือดออกจากก้อนมะเร็ง และสามารถคลำเจอก้อนที่บริเวณลำคอ อันเป็นต่อมน้ำเหลืองที่มะเร็งแพ่กระจายไป เนื้องอกที่เกิดบริเวณหลอดอาหารเกือบร้อยเปอร์เซนต์เป็นเนื้อร้ายทั้งหมด แต่ที่เป็นก้อนเนื้อดีก็พอจะพบได้บ้างแต่น้อยมาก

ถึงแม้เรายังคงไม่มีคำตอบที่ชัดเจนสำหรับสาเหตุของการเกิดมะเร็งหลอดอาหารแต่ก็พอที่รู้ถึงปัจจัยต่างๆที่ก่อให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารได้  มะเร็งหลอดอาหารอาจเกิดจากการระคายเคืองเรื้อรัง และอาจมีผลมากจากการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกฮอล์ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด สแควมัส เซลล์ คาร์สิโนมา (Squamous cell carcinoma) เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังหลอดอาหารมักเกิดที่ส่วนบนและส่วนกลางของหลอดอาหาร หรืออาจเกิดจากภาวะที่หลอดอาหารโดนกรดในกระเพาะอาหารกัดซ้ำๆเป็นเวลานาน เช่น โรคกรดไหลย้อน อันเป็นปัจจัยเสี่ยงก่อให้เกิดมะเร็งหลอดอาหารชนิด อดีโนคาร์สิโนมา (Adenocarcinoma) เป็นมะเร็งที่เกิดส่วนที่เป็นต่อมในส่วนปลายของหลอดอาหาร  หรืออาจจะเกิดจากความผิดปกติที่ทำให้อาหารไม่ผ่านลงกระเพาะโดยง่าย แต่สะสมอยู่ในหลอดอาหารเป็นเวลานาน เช่น โรคอะคาเลเซีย (Achalasia) ผู้ที่เคยป่วยเป็นมะเร็งปอด มะเร็งในช่องปาก มะเร็งบริเวณศีรษะและลำคอ ผู้ติดเชื้อราที่หลอดอาหาร อายุที่มากขึ้นโดยเฉพาะช่วงอายุ 45-70 ปี มีความเสี่ยงสูง ความอ้วน และการบริโภคผัก ผลไม้ และแร่ธาตุน้อย ก็เป็นไปได้

การเจริญที่ผิดปกติของเซลล์เนื้อเยื่อบุหลอดอาหารจนกลายเป็นเนื้อร้ายอย่างมะเร็ง มะเร็งหลอดอาหารจะเกิดจากเนื้อเยื่อชั้นในและโตออกสู่ผนังด้านนอก ซึ่งก็จะสามารถกระจายเข้าสู่ต่อมน้ำเหลือง เส้นเลือดใหญ่ในทรวงอก และอวัยวะใกล้เคียง นอกจากนี้ยังสามารถกระจายสู่ปอด ตับ กระเพาอาหารและส่วนอื่นๆของร่างกายได้อีกด้วย

การรักษา มะเร็งหลอดอาหาร

แพทย์รักษาด้วยการผ่าตัดในกรณีที่ผ่าตัดได้ โดยจะตัดหลอดอาหารออกและต่อกระเพาะอาหารเข้ากับหลอดอาหารส่วนดีที่เหลืออยู่ กระเพาะจะถูกดึงขึ้นไปอยู่ในทรวงอก แต่ในกรณีที่ไม่สามารถผ่าตัดได้ แพทย์จะพยายามทำให้ผู้ป่วยสามารถได้รับอาหารได้มากขึ้น เช่น การใส่สายยางทางหน้าท้องเพื่อให้อาหารเหลวง การขยายหลอดอาหารที่ตีบแต่ต้องทำซ้ำบ่อยเนื่องจากมะเร็งมีขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ การสร้างทางเดินอาหารสู่กระเพาะใหม่ แพทย์อาจใช้การทำคีโมบำบัดและการฉายรังสีเพื่อลดขนาดก้อนมะเร็งก่อนทำการผ่าตัดหรือเมื่อมะเร็งลุกลามมากแพร่กระจายสู่อวัยวะอื่นๆ

สำหรับมะเร็งหลอดอาหารนั้นมีผลการรักษาที่ไม่ดีเมื่อเทียบกับมะเร็งชนิดอื่นๆ อาจเป็นเพราะหลอดอาหารเป็นอวัยวะภายในที่อยู่ลึก มีพื้นที่ขนาดเล็ก ผ่าตัดยาก และยังมีภาวะแทรกซ้อนสูงในการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อนระบบทางเดินหายใจ เช่น ปอดแฟบ ปอดบวม หนองในช่องเยื่อบุหุ้มปอด หรือการรั่วของท่อน้ำเหลืองอันเกิดจากการฉีดขาดในระหว่างที่เลาะเอาก้อนมะเร็งออก

การเตรียมตัวและจิตใจให้พร้อมกับการรักษาในขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งการต้องต่อสู้กับภาวะขาดสารอาหารหรือทุพโภชนาการ อันเนื่องมาจากการกลืนอาหารไม่ได้ มีความสำคัญอย่างยิ่งกับการอยู่รอดของผู้ป่วย ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และควรทำจิตใจให้ร่าเริง อย่างคำที่ว่าใจเป็นนายกายเป็นบ่าว ถ้าจิตใจเราสู้ร่างกายก็พร้อมที่ทำตามใจสั่งคะ

ข้อมูลอ้างอิง:
มะเร็งหลอดอาหาร : bumrungrad.com
มะเร็งหลอดอาหาร : mutualselfcare.org
เรียนรู้เกี่ยวกับมะเร็งหลอดอาหาร : cccthai.org
หนังสือรับทราบและยินยอมให้แพทย์ทำการบำบัดรักษา-ผ่าตัดหลอดอาหาร : med.cmu.ac.th
รอบรู้โรคัย 7 ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งหลอดอาหาร : manager.co.th

Previous articleวิธีกำจัดแมลงสาบ สมุนไพรแบบบ้านๆ ได้ผลถาวร
Next articleวิธีเลือก ชุดเดรสทำงาน ให้เหมาะกับสาวออฟฟิต